12/11/54

ผู้หญิง กับทางเลือกต่อความรุนแรง


“ผู้หญิง” เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง คือ การที่บุคคล (ซึ่งมักจะเป็นเพศชาย) เลือกปฏิบัติด้วยความรุนแรงต่อเหยื่อที่เลือกไว้ (ซึ่งมักจะเป็นผู้หญิง) ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือจิตใจ
 ปัญหาความรุนแรงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น ทุกสถานที่ ทุกประเทศ วัฒนธรรม ชนชาติ ระดับอายุ ศาสนา ระดับการศึกษา ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ ตราบเท่าที่สังคม วัฒนธรรม ไม่ให้ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ อนุญาตให้ผู้ชายได้เปรียบ มีสิทธิที่จะแสดงอำนาจเหนือและควบคุมผู้หญิง ส่วนกฏหมายและประเพณีก็ส่งเสริมการกดขี่เพศหญิง อีกทั้งทัศนคติของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิงในทางที่ไม่ให้เกียรติ คิดว่าผู้หญิงเป็นเพศอ่อนแอ ต้องอยู่ภายใต้การปกป้องดูแล 
 
 ทัศนคติที่เห็นผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศได้ถูกตอกย้ำผ่านการโฆษณาสินค้าและสื่อลามกต่างๆอันนำไปสู่การเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง การมีมาตรฐานสองระดับ (double standard) ในทุกพื้นที่ ไม่ว่า ในครอบครัว ที่ทำงาน สถาบันการศึกษา ศาสนา โดยเฉพาะสถาบันการเมือง

 ความรุนแรงต่อผู้หญิงในรูปแบบที่ชัดเจนที่สุดก็คือ “ภัยทางเพศ” ซึ่งมีอยู่หลายระดับ เริ่มตั้งแต่ 

การคุกคามทางเพศ (sexual harassment) 

นี่คือปัญหาใหญ่ที่ผู้หญิงแทบทุกคนเคยประสบ การคุกคามทางเพศ คือการที่ฝ่ายชายใช้อำนาจเพื่อล่วงเกินทางเพศกับฝ่ายหญิง ไม่ว่าจะเป็น
    การและเล็ม แทะโลม ด้วยสายตาและคำพูด ไม่ว่าจะถูกเนื้อต้องตัวฝ่ายหญิงหรือไม่ก็ตาม เช่น เป่าปาก ผิวปาก ยักคิ้วหลิ่วตา ส่งจูบ แสดงท่าส่อนัยยะถึงพฤติกรรมทางเพศ
การตามตื้ออย่างไม่รู้กาละเทศะ    การติดตามไปไหนต่อไหนโดยไม่ได้รับคำเชิญชวน การสะกดรอยตาม
การใช้วาจาเย้าแหย่หรือล่วงเกินโดยส่อนัยทางเพศ พูดจาลามก พูดสองแง่สองง่าม พูดถึงอวัยวะบางส่วน
บีบบังคับให้ผู้หญิงต้องรับรู้เรื่องทางเพศ เช่น ให้ดูรูปภาพ, หนังสือ, ภาพยนตร์ หรือเว๊บไซต์โป๊เปลือย วาดรูปหรือเขียนจดหมายลามกส่งให้ผู้หญิง การอวดของลับ
 การแตะเนื้อต้องตัวที่ไม่เหมาะสม จับก้น โอบไหล่ จับมือถือแขน กอดรัดฟัดเหวี่ยง ไปจนถึงขั้นรุนแรงอย่างการข่มขืน
นอกจากนั้น การคุกคามทางเพศที่ไม่ได้กระทำโดยพฤติกรรมภายนอก แต่ใช้วิธีการควบคุมจิตใจก็ถือเป็นการเอารัดเอาเปรียบทางเพศได้เช่นกัน ซึ่งอาจมาในรูปแบบการเสนอผลประโยชน์บางอย่างในการทำงานหรือการเรียนโดยแลกเปลี่ยนกับการตอบสนองความต้องการทางเพศ กระทั่งเป็นการข่มขู่คุกคามทางจิตใจ ทำให้ปฏิบัติงานหรือเรียนไม่ได้ตามปกติ
การประทุษร้ายทางเพศ (sexual assault) 
คือการที่อีกฝ่ายใช้อำนาจที่เหนือกว่า อาจเป็น พละกำลัง อาวุธ หรืออำนาจหน้าที่ในที่ทำงานหรือสถานศึกษาสร้างความกดดัน บังคับให้อีกฝ่าย (ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย) ตอบสนองความพอใจทางเพศแก่ตน อันนำไปสู่การร่วมกระทำกิจกรรมทางเพศโดยไม่เต็มใจ ไม่แต่เฉพาะกิจกรรมทางอวัยวะเพศเท่านั้น แต่รวมถึงการใช้ปากและทวารหนักอีกด้วย 
 รูปแบบที่ชัดเจนที่สุดคือ การข่มขืน (rape) ไม่ว่าจะเป็นวิธีการหลอกลวง ขู่ให้ยอม ใช้ยาหรือเหล้ามอม ทำให้่ช่วยตัวเองไม่ได้ หรือใช้กำลังทำร้ายแล้วข่มขืน
การขืนใจ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในรูปแบบไหนก็ถือว่าเป็นอาชญากรรมทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าอีกฝ่ายจะเป็นคู่รักหรือสามีของเราก็ตาม


ความรุนแรงในครอบครัว  (domestic violence) 

ก็คือการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (ซึ่งมักเป็นฝ่ายชาย) กระทำความรุนแรงทั้งทางร่างกาย วาจาและจิตใจต่ออีกฝ่ายหนึ่ง (ซึ่งมักเป็นผู้หญิงและเด็ก) เพื่อควบคุมให้อยู่ใต้อำนาจ เช่น ทำร้ายร่างกาย กักขังหน่วงเหนี่ยว ข่มขู่ด้วยวาจาให้ทำตามที่ต้องการ บังคับให้ตัดญาติขาดมิตร ทำให้ต้องอับอายต่อผู้อื่น จำกัดการใช้ทรัพยากร เช่น พื้นที่ เครื่องมือสื่อสาร การเดินทาง หรือ เงิน
 การค้ามนุษย์ (human trafficking) คือการลดคุณค่าของมนุษย์ให้กลายเป็นสินค้า มีการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะโดยการล่อลวงหรือสมัครใจ โดยเฉพาะการบังคับให้ค้าประเวณี ทั้งในระดับบุคคล และเป็นกลุ่ม
ฆาตรกรรม (murder) คือความรุนแรงอันนำไปสู่ความตาย ถือได้ว่าเป็นความรุนแรงสูงสุดที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง
ธนาคารโลก (World Bank) ประมาณว่า ความรุนแรงและภัยทางเพศเป็นสาเหตุการตายและความพิการของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์อันมีความร้ายแรงพอๆกับมะเร็งและเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงบาดเจ็บและเจ็บป่วยได้เท่าๆกับอุบัติเหตุบนท้องถนนและโรคมาเลเรียรวมกัน


 สมัยเรียนอยู่ชั้นประถมปลาย ฉันเริ่มรักการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ ธุรกิจครอบครัวคือร้านตัดเสื้อผ้าสตรี แต่ละวันจะมีลูกค้ามากมาย โซฟารับแขกเต็มไปด้วยนิตยสารสำหรับผู้หญิงทุกประเภท หลังกลับจากโรงเรียน ฉันชอบนอนเอกเขนกบนโซฟาตัวโปรด อ่านดะตั้งแต่คอลัมภ์ผัวเมียละเหี่ยใจในคู่สร้างคู่สม ตอบปัญหากับศิราณี ไปจนถึงสารพันปัญหาในนิตยาสารชีวิตจริง 
 ฉันเริ่มเรียนรู้จักคำว่า “ข่มขืนกระทำชำเรา” จากนิตยสารเหล่านี้ โดยเฉพาะเรื่องของ “ปูนหอม”     เด็กหญิงรุ่นราวคราวเดียวกับฉันที่ถูก “ชำเรา” จากครูและคนในครอบครัวของเธอเอง 
 นิยายขนาดยาวหลายสิบตอนจบเรื่องนี้ทำให้เด็กขาดความอดทนอย่างฉันเลิกติดตาม ฉันหันไปอ่านเรื่องสั้นๆที่เข้มข้นด้วยรูปประกอบจากนิตยสาร “ชีวิตจริง” ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวของพ่อข่มขืนลูก พี่ข่มขืนน้อง ลุงข่มขืนหลาน หรือผู้ชายทั้งบ้านรุมข่มขืนเด็กสาวคนเดียว

 ฉันเรียนจบชั้นประถมพร้อมด้วยความรู้สึกว่า “ฉันต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสียแล้ว เพราะผู้หญิงทุกคนโตแล้วจะต้องถูกข่มขืน”


    ทุกๆหนึ่งชั่วโมง มีผู้หญิงไทยหนึ่งคนถูกทำร้าย
    ทุกๆสองชั่วโมง มีผู้หญิงไทยหนึ่งคนถูกข่มขืน 
 นี่เป็นสถิติโดยเฉลี่ยในช่วงปี ๒๕๔๓ ที่คำนวณจากคดีที่ได้รับแจ้งของศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่นี่แทบจะเทียบไม่ได้เลยกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีสถิติบ่งบอกว่า กรณีข่มขืนนั้นเกิดขึ้นทุกๆหนึ่งนาที และการทำร้ายผู้หญิงเกิดขึ้น  ทุกๆ ๕๑ วินาที นั่นหมายความว่า ผู้หญิงปีละประมาณ ๖๘๓,๐๐๐ คน ถูกข่มขืนที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
 ผู้หญิงอเมริกัน ๑ ใน ๘ คนจะเคยถูกข่มขืนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง คิดเป็นผู้หญิงถูกข่มขืนประมาณ ๑๒ ล้านคนจากทั่วประเทศ
 สถิติที่น่าสนใจที่สุดคือ ๓ ใน ๔ ของผู้ข่มขืนจะเป็นญาติของผู้ถูกข่มขืนเอง ซึ่งก็ไม่ต่างไปจากคดีข่มขืนในสังคมไทยที่ปรากฏว่ามีจำนวนผู้กระทำความผิดทางเพศที่ศาลพิจารณาว่ากระทำความผิดจริงและลงโทษจำคุกอยู่ในปัจจุบัน มากเป็นอันดับสี่ของคดีประเภทต่างๆ ซึ่งหมายความว่า มีผู้หญิงตกเป็นเหยื่อของผู้กระทำความผิดเหล่านี้อย่างมากมาย ทั้งที่เป็น การถูกข่มขืนแบบตัวต่อตัว (single rape) โทรมหญิง (gang rape) ฆ่าข่มขืน   (felony rape) ข่มขืนภายในครอบครัว (incest) และข่มขืนคู่รัก (acquaintance rape / date rape) ตามสถิติพบว่า การข่มขืนโดยผู้ใกล้ชิดโดยเฉพาะคู่รักเป็นกรณีที่เกิดขึ้นมากที่สุด

9/11/54

สตรีกับความรุนแรง


สถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย นับว่ายังเป็นปัญหาสำคัญ และส่งผลกับสตรี และเด็กเป็นวงกว้าง และเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ทั้งความรุนแรงในครอบครัว ในสถานศึกษา สถานที่ทำงาน และสถานการณ์ในสังคมทั่วไป รวมถึงความรุนแรง ที่กำลังเกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ยังเกิดในลักษณะของการค้ามนุษย์ การข่มขืนกระทำชำเรา การคุกคามทางเพศ การบังคับการค้าประเวณี อันเนื่องมาจากการนำเสนอภาพลักษณ์ ของผู้หญิง ในทางลบ ของสื่อต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ ป็นการสื่อในเรื่องทางเพศ (Sex object) ข้อมูลจากการประชุมการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กระดับนานาชาติ 26 ประเทศทั่วโลก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในเดือนกันยายน 2549 ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศ ที่เผยแพร่ภาพลามก
อนาจารของเด็กและสตรีผ่านเว็บไซต์ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก (จากการสำรวจของสถาบันจัดลำดับอินเตอร์เน็ต ที่น่าเชื่อถือ ที่รู้จักกันในนาม Internet Watch Foundation) โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 1 51.1% อันดับที่ 2 รัสเซีย 14.9% อันดับที่ 3 ญี่ปุ่น 14.9% อันดับ 4 สเปน 8.8% อันดับ 5 ไทย 3.6% อันดับ 6 เกาหลี 2.16 % อันดับ 7 อังกฤษ 0.2% ประเทศอื่น ๆ อีก 7.5% (มติชน วันที่ 4 ตุลาคม 2549)
          นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาความรุนแรงอันเกิดจากสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว สตรีและเด็กทั้งชาวพุทธ
และอิสลามต่างได้รับผลกระทบจากความรุนแรง อันส่งผลถึงการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทรัพย์สิน สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การละเมิดสิทธิรวมทั้งการตกเป็นเหยื่อของการก่อการร้าย ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ทั้งทางร่างกายและบาดแผลทางจิตใจ
          สำหรับในปี 2549 ข้อมูลจากโรงพยาบาลจำนวน 91 แห่ง ในสังกัดกรมอนามัย กรมการแพทย์ กระทรวงกลาโหม และ โรงพยาบาลในสังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีจำนวนผู้ขอรับบริการทั้งสิ้นจำนวน 14,382 ราย จำแนกเป็นเด็กอายุระหว่างแรกเกิดถึง 18 ปี จำนวน 7,164 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.19 ซึ่งผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นคนที่รู้จักและมีความใกล้ชิด โดยสามีเป็นผู้ กระทำร้อยละ 26.26 สมาชิกในครอบครัวร้อยละ 14.27 พ่อ/แม่ และพ่อเลี้ยง และแม่เลี้ยงร้อยละ 3.30 และ 2.11 ตามลำดับ
          สาเหตุของความรุนแรง
          สาเหตุของการกระทำความรุนแรงต่อสตรีและเด็กร้อยละ 28.79 เกิดจากสาเหตุการเมาสุรา และติดสารเสพติด การนอกใจ หึงหวง และทะเลาะวิวาทร้อยละ 24.04 และกฎหมายบางเรื่องยังเปิดช่องว่าง ให้มีการกระทำรุนแรงในครอบครัว เช่น กฎหมายอาญา มาตรา 276 ใช้ถ้อยคำว่า "ผู้ใดข่มขืนหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตน" มีผลให้สามีข่มขืนภรรยาได้โดยไม่มีความผิด
          2. ความรุนแรงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
          ผลวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ที่ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กเยาวชน 150,000 คนทั่วประเทศ พบว่าเด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาทั้งในระดับ ทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. ตกอยู่ในวัฎจักร ของการใช้ความรุนแรง การใช้กำลังกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ประมาณ 1 ใน 10 หรือประมาณ 700,000 คน จากจำนวนนักเรียนในระดับมัธยม ศึกษา ปวช. และ ปวส. ผลวิจัยดังกล่าวชี้ว่า ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนไม่ใช่ ปัญหาใหม่ ของสังคมไทย แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนนั้น สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเด็กได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์เหล่านั้นความเจ็บปวด จากการแตกร้าวของครอบครัว การหย่าร้างของบิดามารดารวมทั้งการนำเสนอของสื่อต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงความรุนแรงทั้งรูป ของการละเล่น (games) ภาพยนตร์ ข่าว และภาษาที่ใช้ทั้งการใช้คำพูด หรือภาษาหนังสือ
          3. เหตุการณ์ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ การทำร้าย การฆาตกรรม การก่อการร้าย การลงทัณฑ์ ทรมาน ข่มขืน การละเมิดทางเพศ การละเมิดสิทธิ และการก่อเหตุไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐาน ของกฎหมายสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งการละเมิดสิทธิดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทั้งผู้หญิงและผู้ชายในรูปแบบแตกต่างกัน ความรุนแรงดังกล่าว ก่อให้เกิดความเดือดร้อนจากการสูญเสียทรัพย์สินบ้านช่อง และญาติพี่น้อง ในบางครั้งเป็นการซ้ำเติมปัญหาสตรี และเด็กผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะครอบครัวยากจน หรือครอบครัวที่มีสตรีรับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องรับภาระอบรมเลี้ยงดูลูก รวมทั้งประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอ กับค่าใช้จ่ายในครอบครัวทำให้สตรีเหล่านี้ต้องตกอยู่ในสภาพที่แย่ไปกว่าเดิม ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของสมาชิกในครอบครัว และบางครอบครัวไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างที่เคยทำมาได้ มีผลทำให้ครอบครัวที่ทุกข์ยากอยู่แล้ว มีความลำบากยากจนยิ่งขึ้นไปอีก
          นอกจากนี้แล้วความขัดแย้ง ที่มีการใช้อาวุธยังมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม การสร้างบาดแผลทางจิตใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้น และคงอยู่ไปจนชั่วชีวิต ปัญหาความรุนแรงจากการขัดแย้ง ที่มีการใช้อาวุธที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่
          3.1 กลุ่มคนไร้สัญชาติ
          การหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย และการหนีตายของพลเมืองจากประเทศพม่า มายังประเทศไทย มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (SHRF) ได้ประมาณการตั้งตัวเลขของผู้อพยพที่เพิ่มสูงกว่าตัวเลขของทางการไทย หลังจากเดือนมีนาคม 2539 อันเป็นปีที่รัฐบาล ทหารพม่า เริ่มนโยบายการอพยพโยกย้ายชาวบ้าน ในตอนกลางวันของรัฐไทใหญ่ มีชาวไทใหญ่ไม่น้อยกว่า 8,000 ถึง 15,000 คน หนีตายเข้ามาในไทย ซึ่ง 47% ของชาวบ้านเหล่านี้มีอายุอยู่ระหว่าง 17 ปีหรือต่ำกว่านั้น และ 45 ปี หรือสูงกว่านั้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การอพยพดังกล่าว เป็นการหนีมาของทั้งครอบครัว ไม่ใช่การอพยพมาหางานทำแบบปกติ แต่ได้กลายเป็นที่ของอัตลักษณ์ถาวร ของการเป็นแรงงานต่างด้าว ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงสวัสดิการหรือการยอมรับใด ๆ ในสังคม
          รัฐบาลไทยได้จัดศูนย์รับผู้อพยพ 9 แห่ง เพื่อรองรับผู้อพยพรวมทั้งสิ้น 131,217 คน แบ่งเป็นชาย 67,147 คน และหญิง 64,070 คน ซึ่งยังคงมีปัญหาเรื่องการไร้สัญชาติและการขาดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อยู่มาก
          3.2 เหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
          เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมานั้น ได้ส่งผลกระทบต่อสตรีและเด็กอย่างรุนแรง จากการตกเป็นเหยื่อฆาตรกรรม การบาดเจ็บ และการสูญเสียผู้เป็นที่รัก การต้องรับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวโดยไม่คาดคิด โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสตรีรับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องรับภาระอบรมเลี้ยงดูลูก รวมทั้งต้องประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ของสมาชิกในครอบครัว และบางครอบครัวไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างที่เคยทำมาได้ มีผลทำให้ครอบครัวที่ทุกข์ยากอยู่แล้ว มีความลำบากยากจนยิ่งขึ้นไปอีก
          เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต และการบาดเจ็บทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนจำนวนมาก จากรายงานเหตุการณ์ ความไม่สงบของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ระหว่างปี 2547-2548 ก่อให้เกิดผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวน 1,706 ราย
          ซึ่งผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและสตรีเป็นอย่างมาก จากข้อมูลกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเด็กกำพร้าและสตรีหม้ายจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มกราคม 2550) มีเด็กกำพร้าทั้งบิดามารดา จำนวนทั้งสิ้น 1,425 คน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดสตรีหม้าย ที่จะต้องรับผิดชอบดูแลครอบครัวจำนวนทั้งสิ้น 743 คน
          ในสถานการณ์ความขัดแย้ง สภาพทางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม มีความละเอียดอ่อน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหา ความรุนแรงในสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรัฐบาลได้ดำเนินการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ใน คณะกรรมการอิสระ เพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ อันประกอบไปด้วย กรรมการอิสลามประจำจังหวัด นักวิชาการ นักสันติวิธี ทนายความ ครู พระสงฆ์ องค์กร พัฒนาเอกชน องค์กรประชาธิปไตย และนักธุรกิจ ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิง จำนวน 8 คน จาก 49 คน คิดเป็นร้อยละ 16.33 จะเห็นได้ว่าผู้หญิงที่เข้ามามีบทบาทในคณะกรรมการ ส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวกับเด็ก สตรี และเยาวชน โดยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน นักการเมือง สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้นั้นที่สำคัญคือ เสนอแนะนโยบายมาตรการ กลไก และวิธีการสร้างสมานฉันท์และสันติสุขในสังคมไทยโดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสร้างความยุติธรรม ลดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายขจัดเงื่อนไข และป้องกันปัญหาความรุนแรง และสร้างความ สามัคคีธรรม ให้เกิดขึ้นในชาติ
          4. ความก้าวหน้าการยุติความรุนแรงต่อสตรี
          การให้สัตยาบันอนุสัญญาเรื่องการค้ามนุษย์ และการขายมนุษย์ให้เป็นทาสที่ประเทศไทย เป็นภาคีมีหลายฉบับ เช่น อนุสัญญา ว่าด้วยการปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก (ค.ศ.1921) อนุสัญญาเพื่อการปราบปรามการค้าบุคคล และการแสวงประโยชน์ จากการค้าประเวณีของผู้อื่น (ค.ศ.1933) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏฺบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (ค.ศ.1997) ฯลฯ
          นโยบายและแผนปฏิบัติการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาธุรกิจบริการทางเพศ พ.ศ.2539
          คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 เห็นชอบให้เดือนพฤศจิกายน เป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี และโครงการริบบิ้นสีขาวที่รณรงค์ให้ผู้ชาย และกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการขจัดความรุนแรง
          คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 เห็นชอบนโยบายและแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
          นโยบายและแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี หรือการให้บริการในรูปแบบศูนย์บริการช่วยเหลือเด็กและสตรี ในภาวะวิกฤตจากความรุนแรง (One Stop Crisis Center:OSCC) ซึ่งเป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นในโรงพยาบาล
          กฎหมายที่ต่อต้านความรุนแรงทางเพศ เช่น พ.ร.บ. ป้องกันปราบปรามการค้าประเวณี (พ.ศ.2539) พ.ร.บ. มาตรการในการ ป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก (พ.ศ.2540)
          พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22 พ.ศ.2547 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 ความติดต่อเสรีภาพ
          5. แนวทางการยุติความรุนแรงต่อสตรี
          1. การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม กระบวนการทางกฎหมาย เช่น การเพิ่มโทษ และการฝึกอบรมตำรวจ แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ อัยการ ผู้พิพากษา ให้มีความเข้าใจในเรื่องความรุนแรง เข้าใจปัญหา รวมทั้งวิธีการให้ความยุติธรรม กับผู้ที่ถูกกระทำ
          2. การให้ข้อมูลข้อสนเทศแก่ประชาชนเกี่ยวกับหน่วยงาน ที่จะติดต่อเมื่อมีการกระทำรุนแรง
          3. ดำเนินการให้มีแผนระดับชาติ และกลไกการประสานงาน และดำเนินงานให้ได้ผลแะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
          4. ส่งเสริมสถาบันครอบครัว โดยให้ความรู้เรื่องครอบครัวศึกษา สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก วิธีการแก้ความขัดแย้ง โดยไม่ใช้ความรุนแรง และการดำรงชีวิตตามหลักศาสนา เพื่อสร้างความตระหนักในสิทธิของตนเองและผู้อื่น
          5. สนับสนุนให้มีการทำงานจัดการปัญหาด้านความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ในกลุ่มต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และเป็นประเด็นที่ทำงาน ให้ต่อเนื่อง ทั้งภาคธุรกิจองค์กรเอกชนอื่น ๆ สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ และรายการวิทยุ

8/11/54

เด็กกับความรุ่นแรงในสังคมไทย


เด็กกับความรุนแรงในสังคมไทย
เด็กกับความรุนแรงในสังคมไทย
     เด็กกับความรุนแรงในสังคมไทย “สังคมไทยจำเป็นต้องเข้าใจปัญหาการใช้ความรุนแรงของเด็กในสังคมไทยให้แจ่มชัดมากขึ้น เพราะการใช้ความรุนแรงในการดำเนินชีวิตได้คืบคลานเข้ามาอยู่กับเด็กไทยทุกขณะแล้ว กระแสการต่อต้านเกมที่ใช้ความรุนแรงและรัฐได้ปราบไม่ให้ร้านเกมมีเกมประเภทความรุนแรงบริการเด็ก อันเนื่องมาจากกรณีเด็กนักเรียนอายุ 16 ปล้นฆ่าแท็กซี่โดยรับว่าได้รับอิทธิพลจากเกมที่มีความรุนแรงเป็นสาระหลักแม้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรจะทำ แต่สังคมไทยไม่ควรจะนิ่งนอนใจหรือพึงพอใจว่าได้ขจัดต้นตอการใช้ความรุนแรงไปได้แล้ว เพราะในความเป็นจริงนั้น การใช้ความรุนแรงของเด็กมีเงื่อนไขอื่นมากำหนดอีกมากมาย  ตัวอย่างการก่ออาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการเล่นเกมมีอีกมากมาย เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืน การตี ฆ่า ข่มขืน ของเด็กแซ็บ เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทย หรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้ “โชว์พาว” ข่มขู่เด็กอื่นๆ   ตัวอย่างมากมายเช่นนี้ชี้ให้ตั้งคำถามได้ทันทีว่า เกมเป็นต้นตอความรุนแรงจริงหรือ หรือว่า เกมจะเป็นเพียงเงื่อนไขการกระตุ้นสำนึกของการใช้ความรุนแรงในการดำเนินชีวิตที่ฝังในเด็กวัยรุ่นไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้นึกถึงข่าวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ว่าวัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา  ทำให้เรามองไปว่าการตัดสินใจของวัยรุ่นไม่ได้ตั้งอยู่บนเหตุผลใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง  และทุกคนที่มองปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยเกิดจากการที่เด็กเล่นเกมหรือการรับวัฒนธรรมตะวันตก  ซึ่งที่จริงแล้วมองว่ามันเป็นการโทษกันไปโทษกันมา  เพื่อปัดปัญหาให้พ้นตัว  เราเคยคิดกันไหมว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นมันมาจากการที่เด็กไทยของเราขาดวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย  ด้วยสภาวะที่เปลี่ยนไปทำให้เราลืมวัฒนธรรมที่ดีงามไป  มองกลับมาถ้าเราปลูกฝัง   สิ่งเหล่านี้ให้เขาก็จะสามารถลดปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นลงได้

          วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการแสดงออกความสามารถ  ต้องการการยอมรับ  เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ต้องคิดหากิจกรรมที่จะให้เขาได้ทำในสิ่งที่ต้องการในทางที่ถูกต้อง  การที่จะทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมความรุนแรงลงได้ต้องใช้เวลานานและต้องอดทนที่จะทำค่อย ๆ ปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีงามของเราให้เขาจนเขาสามารถซึมซับได้  เขาก็จะเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เขาจะทำมันถูกต้อง  การกระทบกระทั่งกันมันต้องมีบ้างแต่เราก็ต้องรู้จักที่จะให้อภัยกัน  กล่าวคำว่าขอโทษเมื่อเราผิด  ยอมถอยออกมาคนละก้าวเพื่อที่จะไม่ต้องกระทบกระทั่งกัน  การใช้ความรุนแรงไม่ถือว่าเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่แต่การชนะใจตนเองด้วยการระงับอารมณ์เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด
  
           เด็กวัยรุ่นมักมีความรุนแรงมากจนไม่คาดถึง เท่าที่พบเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์มีมากมาย สาเหตุพฤติกรรมรุนแรงของเด็กวัยรุ่นที่แสดงออกจากการวิเคราะห์ มักพบว่า นอกจากเด็กส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยกทำให้เด็กมีปัญหา เนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอน และดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กมักขาดระเบียบวินัย และขาดความอดทนต่อการรอคอยแล้วที่น่าสนใจไม่น้อยยังพบว่า เด็กอีกหลายคนที่พ่อแม่ดูแลดีเกินไป ประคบประหงมจนลูกทำอะไรไม่เป็น ไม่เคยต่อสู้อุปสรรคปัญหาใด ๆ หรือขาดความเข้มแข็งเปลาะบางจนไม่สามารถทนต่อความผิดหวังได้ ในวัยเด็กเล็กการตามใจลูกทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กดื้อ เอาแต่ใจตนเองหากไม่ได้ดั่งใจก็จะก้าวร้าวกับพ่อแม่ ต่อมาอาการก้าวร้าวจะเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นความรุนแรง ตามข่าวที่มักพบบ่อย ๆ ในวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่เป็นตัวของตัวเองมีความสนใจเข้ากลุ่มเพื่อนและเชื่อฟังเพื่อนมากกว่าผู้ใหญ่ผู้ใดังนั้นหากถูกเพื่อนปฏิเสธ หรือมีปัญหาทางการเรียนด้วยแล้วมักถูกเพื่อนชักจูงไปในทางที่ไม่เหมาะสม ยิ่งมีตัวกระตุ้นด้วยการลองดื่มเหล้า หรือสารเสพติดด้วยแล้ว ยิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมได้ในที่สุด

          การลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงได้นั้น พ่อแม่สามารถฝึกเด็กได้ตั้งแต่ยังเล็ก โดยฝึกให้เขาเคยได้รับความผิดหวังบ้าง เช่น อาจสร้างมุมมองแนวคิดเมื่อเผชิญกับความผิดหวัง ฝึกให้เขามองโลกในแง่ดี มองถึงอนาคตรวมทั้งข้างหน้ายังมีโอกาสที่ผ่านเข้ามาอีกเรื่อย ๆ “ไม่ใช่หมดแล้วหมดเลย แต่โอกาสข้างหน้ายังมี หรือเสียแล้วเสียไปหาใหม่ดีกว่า” จะทำให้เขามองโลกได้กว้างขึ้น รวมทั้งยังช่วยลดความโกรธ ความเคียดแค้นที่มีอยู่ภายในใจด้วยการให้เขารู้จักเรียนรู้ในการให้อภัยแก่ผู้อื่นและตนเองด้วย ทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ รวมทั้งหัดให้เด็กรู้จักวิเคราะห์ผลการกระทำโดยให้มองแบบลูกโซ่ เช่น ถ้าเขาทำแบบนี้จะเกิดผลอย่างไรต่อใครบ้างนอกจากตนเอง รวมทั้งทำแล้วถ้าผลไม่เป็นตามที่คิดที่หวังจะยอมรับได้หรือไม่ เพื่อให้เด็กสามารถจัดการกับปัญหา และตัดสินใจยอมรับผลที่เกิดขึ้นด้วยตนเองซึ่งสำคัญมากเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต

          อย่างไรก็ดีหากพ่อแม่ที่คิดว่าลูกโตแล้วฝึกไม่ทันเพราะผ่านการฝึกฝนในวัยเด็กเล็กไปแล้วก็ตามแต่ แต่เรื่องนี้ไม่มีคำว่าสายเกินไป อย่าท้อใจที่จะเริ่มต้นฝึกเด็กด้วยความอดทน เพื่อให้เขาปรับตัวและมีชีวิตที่เป็นสุขกับสังคมรอบข้างได้เป็นอย่างดีในต่อไป 

มาตรการแก้ปัญหาควารุนแรงในเด็ก


คุณศิริบูรณ์ : รายการเช้าวันนี้ขอนำเสนอเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเด็ก สืบเนื่องจากช่วงขณะนี้เกิดปัญหาเด็กก่อความรุนแรง ทำร้ายร่างกายกันมากขึ้นเรื่อย วิทยากรที่จะมาร่วมสนทนากับเราในวันนี้เป็นผู้ที่ทำงานคลุกคลีกับเด็กมาโดยตลอด ขอแนะนำท่านวุฒิสมาชิกและประธานมูลนิธิเด็ก ท่านวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สวัสดีค่ะ ไม่ทราบว่ามูลนิธิเด็กของท่านให้การดูแลเด็กและเยาวชนประเภทใดบ้าง
คุณวัลลภ : ปัจจุบันที่ดูแลเด็กจะเป็นเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ความรุนแรงและเป็นกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง คำว่าได้รับผลกระทบก็คือว่าอยู่ในครอบครัวซึ่งมีความรุนแรงตลอด เช่นพ่อแม่ตีกันแล้วก็ไปทำร้ายเขา และหนีออกจากบ้านไปเร่ร่อนอยู่บนถนน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เรารับตัวมาจากผู้พิพากษาสมทบคือเด็กทำความรุนแรง คือไปทำร้ายร่างกายผู้อื่น ศาลท่านก็เมตตาไม่จำคุก และส่งมาให้ผมคุมความประพฤติแทน ก็จะมี 2 กลุ่ม และจากสถิติจะพบว่าเด็กผู้ชายใช้ความรุนแรงมากกว่าเด็กผู้หญิง
คุณศิริบูรณ์ : มีสาเหตุต่างกันไหมคะว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
คุณวัลลภ : ผมคิดว่าการเลี้ยงดูในครอบครัวค่อนข้างจะเป็นปัจจัยหลัก ยกตัวอย่างเช่น เรามักจะเลี้ยงดูลูกผู้ชายแบบปล่อย แต่เด็กผู้หญิงเราจะเลี้ยงดูแบบอบรมบ่มนิสัย เด็กผู้หญิงค่อนข้างจะเรียบร้อย ถ้าพูดถึงวัฒนธรรมไทยนะครับ ขณะเดียวกันสังคมข้างนอกก็มีตัวเอื้อให้เด็กผู้ชายมีความก้าวร้าวได้ง่ายด้วย เช่น มียาให้เสพ มีเบียร์โฆษณาทุกนาที มีเหล้าให้ดื่ม ทำให้สติขาดหายได้มากกว่า และเด็กผู้ชายก็มีสถานที่รวมกลุ่มกันง่าย พอรวมกลุ่มกันได้โอกาสจะใช้ความรุนแรงแบบกลุ่มก็จะสูง ฉะนั้นการตีกันเป็นกลุ่มก็จะมีมากขึ้น อันนี้ก็เป็นปัจจัยที่เอื้อให้เด็กผู้ชายทำร้ายกันเองแล้วก็ทำร้ายผู้อื่นสูงกว่าเด็กผู้หญิง
คุณศิริบูรณ์ : ในกลุ่มของเด็กที่ก่อความรุนแรง อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เด็กไทยใช้ความรุนแรง ก้าวร้าวได้มากขึ้นขนาดนี้คะ
คุณวัลลภ : สามารถวิเคราะห์กันได้หลายแง่มุม แต่ว่าสุดท้ายทุกคนมีความเห็นคล้ายกันว่าปัจจัยหลักมาจากครอบครัว
คุณศิริบูรณ์ : รู้สึกทุกอย่างจะมาลงท้ายอยู่ที่ครอบครัว
คุณวัลลภ : เขาบอกว่าเด็กที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีความรุนแรง แน่นอนว่าเป็นงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ยืนยันชัดเจนว่าเด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายหรือมาจากครอบครัวที่มีความรุนแรงนี้จะไปใช้ความรุนแรงกับคนอื่น
คุณศิริบูรณ์ : ทำไมเด็กเขาจึงไม่คิดกลับกันว่าถูกกระทำแรงแบบนั้นน่าจะรู้สึกว่าไม่อยากทำอย่างนั้นกับคนอื่น
คุณวัลลภ : เพราะว่าเขาเก็บเอาความโกรธ ความเป็นคนพ่ายแพ้เอาไว้ในใจ แล้วถ้าเรียนรู้ว่าวิธีการทำให้คนอื่นแพ้เราบ้างคือการใช้ความรุนแรง เขาก็จะใช้ต่อ นั่นคือเก็บแล้วก็ระบายออก ทีนี้ถามว่ามนุษย์เราระบายออกเหมือนกันไหม ตรงนี้สำคัญมากซึ่งเป็นประเด็นหลัก มนุษย์เราทุกคนนี้เมื่อเครียดเมื่อโกรธจะระบายความรุนแรงต่างกัน เช่น บางทีเราโกรธเราจะเดินกระแทกเท้า เอาหนังสือฟาดโต๊ะ กระแทกประตูหรือไม่ก็ขว้างแก้ว อันนี้คือความรุนแรงที่แต่ละคนแสดงออกต่างกัน แล้วแต่ว่าเขาจะมีสายโยงใยที่ดึงเอาไว้คือสติในรูปแบบต่างๆ กันได้มากน้อยแค่ไหน เช่น จะทำแรงไปก็เกรงใจพ่อ อันนี้เขาเรียกว่ายังมีสติอยู่ เกรงใจพระ เกรงใจครู เกรงใจเพื่อน อันนี้เขาเรียกสติที่มันคอยดึง หรือเกรงใจสังคม ตรงนี้ที่เป็นเรื่องสำคัญ เราพบว่าเด็กที่ทำความรุนแรงมากเท่าไรก็เพราะมีตัวเกรงใจน้อย มีความโกรธแค้นเป็นตัวผลักดันสูง อันนี้คือประเด็นหลักที่จะทำให้ไปไกลถึงขั้นไปทำร้ายคนอื่น จะเห็นว่าไม่ใช่อยู่ๆ เด็กคนหนึ่งจะไปทำร้ายคน มันจะมีพฤติกรรมการแสดงออกไปทีละขั้นตอนของมัน บางทีอาจจะกระโดดบ้าง เช่น ก่อนจะไปทำร้ายคนก็ทำร้ายสัตว์ เช่น ชอบเตะสุนัข เอาจิ้งจกลงมาดึงหาง
แล้วฟาดมันทิ้ง มันมีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงกับสิ่งของ กับสัตว์ กับสิ่งมีชีวิตแล้วไปถึงมนุษย์
คุณศิริบูรณ์ : หมายความว่าเราสามารถสังเกตได้ว่าลูกหลานของเรามีสัญญาณในลักษณะนี้หรือเปล่า
คุณวัลลภ : หลายคนก็แปลก คือผมเคยเจอเด็กเร่ร่อนที่ทำร้ายตัวเอง เช่น ใช้กระเบื้องมากรีดแขนให้เลือดมันไหลออก คือเป็นการทำร้ายตัวเอง ทำร้ายตัวเองไปไกลกว่านั้นก็คือไปฆ่าตัวตายอย่างที่เราได้ทราบ แต่ว่าบางส่วนก็ไม่ทำร้ายตัวเองแต่ไปทำร้ายคนอื่น อย่างที่ว่าตีหัวเขาชกเขา แล้วไปไกลถึงขั้นฆ่าเขา มันก็จะเป็นลำดับชั้นของมันเอง
คุณศิริบูรณ์ : เพราะฉะนั้นผู้ปกครองสามารถสังเกตพฤติกรรมของลูกได้
คุณวัลลภ : เขาเรียกว่าสัญญาณบอกเหตุเบื้องต้น ถ้าเราอยู่กับลูกเราหรือลูกศิษย์เรา เราจะรู้พฤติกรรมว่าเด็กคนนี้เป็นคนร่าเริง ชอบคุย แต่วันนี้ทำไมเงียบ เคยประจบประแจกับเรา กลับบ้านวันนี้ทำไมเขาไปในห้องปิดประตูเงียบเลย เงียบเกินไปอันนี้คือสัญญาณบอกเหตุ หรือคำพูดบางคำของลูกก็จะสะท้อน เช่น เกลียดจังเลย อยากจะชกคนนั้นคนนี้ คำแบบนี้บอกอะไรได้หลายอย่าง คือสัญญาณบอกเหตุทั้งนั้น ซึ่งสัญญาณบอกเหตุที่ผมคิดว่าเราต้องตีความให้ออก และหากลไกรองรับ เมื่อสักครู่คุณศิริบูรณ์พูดถึงหลักสูตรใช่ไหมครับ หลักสูตรนี้เป็นเรื่องระยะยาว แล้วเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่ต้องปรับปรุงหลักสูตร แต่ว่าหลักสูตรตรงนี้จะไปไม่ได้ถ้ากลไกอื่นไม่เคลื่อน ผมพยายามเสนอกลไกมากๆ เพราะถ้าเราไม่มีกลไกรองรับบางเรื่องไม่มีทางแก้ปัญหาเหล่านี้ได้สำเร็จ เช่น เมื่อเราเป็นครูเด็กมาเรียนกับเราเอาแค่ 1 ต่อ 20 ผมไม่พูดถึง 1 ต่อ 40 ถ้ายืนเข้าแถว 20 คน นับตั้งแต่คนแข็งแรงที่สุดจนถึงอ่อนแอที่สุดใช่ไหมครับ ยืนเข้าแถวกัน บรรดาเด็กเกเรก็จะไปอยู่หลังห้อง เด็กเรียบร้อยก็จะอยู่หน้าห้อง จะมีลำดับการวางตัวเขาเองโดยธรรมชาติ แต่ว่าคนที่มีความทุกข์มันจะถูกละเลย เพราะว่าครูอาจารย์มักจะสนใจเด็กที่ฉลาดและเด็กที่สนใจเรียน เด็กที่มีความทุกข์เขาก็ต้องการที่พึ่ง ผมจึงต้องการกลไก โรงเรียนเรามีห้องเรียนเยอะทั้งห้องพระ ห้องดนตรี ห้องศิลปะ ห้องเก็บของ ห้องน้ำ แต่เราไม่เคยมีห้องคลายอารมณ์ ผมใช้คำอย่างนี้ก็แล้วกัน เช่นว่าวันนี้ผมทุกข์มาผมไม่อยากเรียนผมอยากไปห้องนี้ ไปหาครูที่เข้าใจผม ฉะนั้นเราก็อยากจะมีครูสักคนที่ไม่ต้องสอนหนังสือ เพราะอะไรเพราะชีวิตมนุษย์มันต้องเรียนรู้เรื่องความรู้และชีวิต ผมอยากจะมีครูสอนชีวิต
คุณศิริบูรณ์ : เป็นครูแนะแนวได้ไหมคะ
คุณวัลลภ : ได้ครับ แต่ต้องเป็นคนที่เด็กทุกคนเลือก เด็กเขารู้เลยว่าครูคนนี้ใช้ได้ เขาเลือกเป็นครับ อย่าไปเลือกแทนเขาเพราะเรามักจะเลือกครูที่โหดๆ ไปเป็น
คุณศิริบูรณ์ : เช่น ครูผู้ปกครอง ฝ่ายปกครอง
คุณวัลลภ : ใช่ จะเลือกแบบนั้นซึ่งมันไม่ใช่ ต้องเลือกที่เด็กรัก ครูที่เขารักแล้วเขาจะไปนั่งอยู่ที่ห้องนั้นไม่ต้องสอนหนังสือ จะมีเด็กไปหาเขาทุกวัน แล้วเขาจะรู้เลย เช่น เด็กบอกเมื่อคืนนี้ไม่ได้นอนเลยพี่ชายไล่ปล้ำ อย่างนี้คือจะรู้ปัญหาเขา จะช่วยเขาได้ เมื่อวานพ่อด่ามาไม่ชอบเลย โกรธพ่อ เราจะได้สอนเขาได้ หรือแม้กระทั่งเด็กวัยรุ่นไปฟังมาจากโรงเรียนสวนกุหลาบ ดูหนังสือโป๊แล้วมีอารมณ์ ครูเขาบอกไม่ได้นะมีอารมณ์ไปข่มขืนเขาติดคุก เขาจะค่อยๆ สอนเรื่องกฎหมาย สอนเรื่องการยับยั้งชั่งใจ สอนเรื่องการป้องกันตัวเอง หมดทุกเรื่อง หรือบอกมีแฟนอกหักจะทำอย่างไร จะไปฆ่าเขา ที่กำลังเป็นข่าวอยู่ ครูก็จะได้บอก เพราะบางเรื่องเขาจะไม่พูดในบ้าน เขาจะมาพูดกับครูที่เขารัก ซึ่งกลไกตรงนี้จำเป็น
คุณศิริบูรณ์ : อันนี้เป็นกลไกในโรงเรียน เดี๋ยวเรามาคุยกลไกในทุกส่วนของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากครอบครัวคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะมองอย่างครูหยุย บอกว่าปัญหาจริงๆ เกิดจากการใช้ความรุนแรงกันในครอบครัว คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะใช้โดยไม่รู้ตัวนะคะครู
คุณวัลลภ : เป็นการแสดงออก เพราะเราถูกเลี้ยงมาอย่างไรเราก็แสดงออกอย่างนั้น
คุณศิริบูรณ์ : เดี๋ยวเราจะกลับมาคุยกันว่าเราจะสังเกตตัวเราได้อย่างไรว่า เรากำลังทำสิ่งที่ผิดต่อลูกหรือว่าทำสิ่งที่ทำให้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับลูก ทำให้ลูกอาจจะมีปัญหาในภายหลังได้หรือเปล่า รวมถึงกลไกอื่นๆ ในสังคมด้วย คุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะร่วมแสดงประสบการณ์หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในกรณีที่อาจจะมีปัญหาหรือว่าไม่มีปัญหามีวิธีการจัดการปัญหาให้กับลูกได้เป็นอย่างดี โทรศัพท์มาฝากความคิดเห็นกันได้ 02-6151011-2 เช้าวันนี้อุทิศให้กับเยาวชนไทยโดยเฉพาะค่ะ
…ช่วงที่ 2 ของรายการเช้าวันนี้ เรากำลังคุยกันถึงปัญหาเยาวชนไทยที่คุณพ่อคุณแม่และสังคมเป็นห่วงกันจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่กำลังก้าวย่างไปสู่ความก้าวร้าว การใช้ความก้าวร้าวในการแก้ปัญหาชีวิตของเขา วันนี้เราคุยกับครูหยุยซึ่งคลุกคลีดูแลเด็กไทยมาเป็นจำนวนมาก และดำเนินงานมาหลาย 10 ปีแล้ว วันนี้ครูหยุยมาวิเคราะห์ให้เราฟังว่าปัญหาต่างๆ มันเกิดขึ้นมาจากอะไร แล้วพอจะมีกลไกที่จะหาทางแก้ไขป้องกันอะไรต่างๆ ได้บ้างหรือเปล่า เมื่อสักครู่ครูพูดถึงกลไกสำคัญในโรงเรียนควรจะมีห้องคลายเครียด ทุกโรงเรียนควรจะมี และต้องมีครูสักคนหนึ่งที่เด็กทุกคนรัก และพร้อมที่จะให้คำปรึกษาอยู่ตลอดเวลา

คุณวัลลภ : ต้องเป็นนโยบายของโรงเรียนเลย เพราะขณะนี้เราสนใจเรื่องสมองอย่างเดียว คือเรื่องความรู้ โดยไม่สนใจเรื่องความรู้สึกหรืออารมณ์
คุณศิริบูรณ์ : เน้นด้านไอคิวอย่างเดียว ไม่มีอีคิว
คุณวัลลภ : อีคิวมีเฉพาะคำพูดเป็นครั้งๆ ไป ต้องพูดกันตรงไปตรงมา เพราะว่าเราไม่ลงทุนเลยแล้วเราก็มาทุกข์แบบนี้ พอเกิดเรื่องทีเราก็ตื่นไปพูดเรื่องหลักสูตรซึ่งมันยาวมาก
คุณศิริบูรณ์ : ต้องมีการอบรมครูที่ดูแลให้คำปรึกษาเด็กโดยเฉพาะ จำเป็นไหมคะว่าครูท่านนั้นต้องเรียนจิตวิทยา ต้องอะไรมีหลักวิชาการต่างๆ
คุณวัลลภ : ผมว่านักจิตวิทยาจำนวนหนึ่งก็เรียนมาจากครู อันนี้ผมพูดตรงๆ นะครับคือครูที่เด็กเขาเลือกกันไม่ต้องกังวลตรงนั้นหรอก นักจิตวิทยาขณะนี้คือมีไม่พอ ฉะนั้นครูแนะแนวเรามีเยอะขอให้ช่วยทำหน้าที่ด้านที่เขาจบมาก็พอแล้ว แต่ขณะนี้เอาเขาไปใช้ในทางที่ผิด เอาไปสอนหนังสือเสียมากกว่า
คุณศิริบูรณ์ : เพราะฉะนั้นกลไกของโรงเรียนสำคัญกับการที่จะหาคนที่เด็กไว้ใจจริงๆ เข้าไปอยู่ในโรงเรียนด้วย บ้านละคะ ครูบอกว่าพ่อแม่มักจะใช้ความรุนแรงเราจะปรับเปลี่ยน คือดิฉันว่ามีพ่อแม่หลายคนที่เลี้ยงลูกที่คิดว่าเลี้ยงลูกดี แต่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นคือความรุนแรงหรือเปล่า
คุณวัลลภ : เรื่องของครอบครัวคงต้องดูแลหลายเรื่องไปพร้อมกัน เรื่องที่หนึ่งก็คือการเตรียมครอบครัวรายใหม่ที่จำเป็น คือเราเรียนจบมหาวิทยาลัยอายุ 22 ปี บางทีอุ้มลูก อุ้มเด็กไม่เป็น เพราะว่าเราไม่เคยเรียนรู้เรื่องการใช้ชีวิตการครองเรือน เรื่องการเป็นเพื่อนที่ดี เรื่องการให้เกียรติซึ่งกันและกัน เราไม่เคยเรียนเลย ฉะนั้นเมื่อไม่เคยเรียนก่อนจะแต่งงานหลายโรงพยาบาลพยายามทำกันอยู่ก็คือหลักสูตรการเตรียมผู้ปกครองรายใหม่ แต่เขาทำแบบลุ่มๆ ดอนๆ เพราะว่าไม่มีเงินทรัพย์พอสนับสนุนเพียงพอ ถ้ารัฐเห็นว่าจำเป็นคงจะต้องให้ขยายไปทั่วประเทศ เรื่องที่สองคือต้องมีศูนย์ที่เรียกว่าศูนย์แก้วิกฤติครอบครัว ครอบครัวโดยมากผู้หญิงจะถูกทำร้าย ลูกถูกทำร้าย เขาไม่รู้จะพึ่งใคร อย่างดีก็หอบลูกหนีออกมา แล้วกระเซอะกระเซิงไม่รู้จะไปไหน นอกจากจะไปหาองค์กรเอกชนเท่านั้น ฉะนั้นมันควรจะมีศูนย์ซึ่งคอยแก้ปัญหา คอยคลายเครียด คอยให้เขารับคำปรึกษาได้ ซึ่งกรมสุขภาพจิตพยายามทำอยู่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ แต่ก็ถือว่าก้าวไปถูกทางแล้ว เรื่องที่สามซึ่งผมเชื่อว่าเรื่องนี้เรื่องใหญ่ก็คือในครอบครัว เมื่ออยู่ด้วยกันเรารณรงค์มาก ถ้าไม่พร้อมอย่ามีลูก อันนี้เรื่องจริง เพราะบางทีเราไม่พร้อมทางอารมณ์ เราไม่พร้อมทางเศรษฐกิจที่พอที่จะเลี้ยงดูได้ เราก็เป็นห่วงในเรื่องนี้ ทำให้เราต้องหนักกว่าเดิม โอกาสที่จะใช้ความเครียดไปกับเด็กก็จะสูงขึ้น
คุณศิริบูรณ์ : เพราะจริงๆ แล้วมีลูกคนหนึ่ง เกิดภาระทั้งกำลังกาย กำลังใจ ต้องทุ่มเทและลงทุนเยอะมาก
คุณวัลลภ : อยากจะเรียนท่านผู้ปกครองว่า ถ้าเรามีลูกชีวิตวัยเด็กเป็นวัยทองคงจะทราบ ถ้าเราลงทุนดูแลเขาเรื่องเราสองคนไม่ทะเลาะกัน เราสองคนไม่เที่ยวเตร่ เราสองคนไม่มึนเมา ไม่ใช้ภาษาหยาบคายต่อกัน ไม่ต้องเป็นห่วงเลยครับ ลูกถอดแบบมาจากเราทั้งนั้น แล้วพอเราดูแลเขาดีๆ พอเขาเป็นวัยรุ่นเราก็จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเราเอง เช่น เราเคยปากเปียกปากแฉะอบรมสั่งสอนเขาตอนเด็กๆ พอเขาเริ่มเป็นวัยรุ่นเราต้องเริ่มปิดปากมากขึ้น ฟังเขามากขึ้น แล้วก็พอเราฟังมากขึ้น เขาก็จะเล่าทุกอย่างให้เราฟัง และเราก็จะได้แนะนำเขาได้ ไม่มีอะไรยากหรอกครับ เพียงแต่ว่าอยู่ที่การประคองตัวของคนสองคนในเบื้องต้นมากกว่า
คุณศิริบูรณ์ : ต้องควบคุมสติตัวเองให้ได้มากที่สุดใช่ไหมคะ แล้วเรื่องของการตีลูกครูคิดว่ามีความจำเป็นมากน้อยขนาดไหนกับสังคมในปัจจุบัน
คุณวัลลภ : ในแง่ของปรัชญามี 2 แนวคิด แนวคิดที่หนึ่งบอกห้ามตี อีกแนวคิดหนึ่งบอกควรจะตีได้ ผมคิดว่าการตีมันอยู่ที่จังหวะและโอกาส ผมยังไม่ปฏิเสธ เช่น ในโอกาสที่สามารถจะสอนเขาได้ แต่บางเรื่องอาจจะต้องตี แต่การตีเขานั้นวิธีง่ายที่สุดให้ใช้มือตีมือ ถ้าตีแรงเราก็จะเจ็บไปด้วย แล้วก่อนจะตีให้นับหนึ่งถึงร้อยก็คืออย่าตีด้วยอารมณ์ ค่อยๆ นับแล้วค่อยๆ สอนเขาอย่างนี้ได้ แต่ถ้าเราฟาดด้วยอารมณ์โดยไม่ยับยั้งชั่งใจจะแรงเกินเหตุ จะนำไปสู่เรื่องการทารุณกรรม การตีนี้ต้องจำแนกให้ออก ผมจึงคิดว่ายังจำเป็นอยู่ในบางช่วงโอกาส แต่ว่าต้องตีอารมณ์ตัวเองให้แตกก่อน แล้วก็ค่อยไปใช้กับเขา แต่วิธีการทำโทษไม่ได้มีวิธีการเดียว มีหลายวิธีการ บางทีอาจจะไม่ต้องตี เช่น จับมือลูกมาแล้วนั่งคุยกัน จับมือลูกบีบแล้วนั่งคุยกันอย่างนี้ก็เป็นวิธีหนึ่ง ค่อยๆ บอกเขา แต่ว่าเราจะต้องนั่งก่อนแล้วก็สองคนต้องมีวิธีการซึ่งไม่ค่อยขัดแย้งกันมากนัก บางทีคนหนึ่งตีคนหนึ่งโอํมันก็ไปกันใหญ่ เด็กก็สับสนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร อันนี้เป็นเรื่องวิธีปฏิบัติระหว่างสามีภรรยา
คุณศิริบูรณ์ : มีคนโทรสารมา (คุณอำนวย) บอกว่า ในเมื่อปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ผิดพลาดเพราะพ่อแม่ไม่รู้วิธีเลี้ยงดูลูก ทำไมเราไม่จัดให้มีโรงเรียนสอนพ่อแม่ให้รู้วิธีการเลี้ยงลูกให้ถูกต้อง
คุณวัลลภ : อันนี้ก็ตรงกับที่ได้เสนอว่า ต้องทุ่มเทอย่างจริงจัง ได้พยายามบอกกระทรวงพัฒนาสังคม ซึ่งมีสถาบันเกี่ยวกับครอบครัวที่ต้องดูแลนี้แล้ว เพราะถ้าเราไม่เน้นเรื่องนี้เราจะมีคนไม่พร้อม มีพ่อแม่เยอะไปหมด แล้วเราก็ตามแก้ปัญหาทีละราย ซึ่งไม่ทัน ฉะนั้นต้องเตรียมจริงๆ
คุณศิริบูรณ์ : เพราะฉะนั้นเรื่องการให้ความรู้นี้สำคัญมาก
คุณวัลลภ : เรื่องใหญ่มาก
คุณศิริบูรณ์ : เมื่อก่อนเขาบอกว่าฉันก็เลี้ยงลูก เลี้ยงพวกเธอโต คุณปู่ คุณย่า คุณตา พวกฉันก็เลี้ยงเธอโตกันมาได้ ไม่เห็นต้องมีหลักวิชาการอะไร
คุณวัลลภ : แต่สิ่งแวดล้อมขณะนี้ต่างจากเมื่อก่อนมาก
คุณศิริบูรณ์ : พูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในส่วนนี้ละคะ เราต้องมีกลไกอะไรในการที่จะปรับหรือว่ารองรับหรือต่อสู้กับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
คุณวัลลภ : เมื่อวานได้คุยกับท่านรองนายกฯ จาตุรนต์ ฉายแสง ในเรื่องนี้เยอะมากว่าเรามีละคร วีซีดี สื่ออินเตอร์เน็ตที่นำไปสู่ความรุนแรงที่สูงมาก ฉะนั้นกลไกมาตรการในเชิงของการที่จะตกลงกันเอง ให้เครือข่ายมานั่งคุยกันว่า จะจัดประเภทของหนังดีไหม อย่างนี้เป็นต้นว่าอายุไหนดูเรื่องไหนได้ แล้วก็สื่อละครอะไรที่มันไม่จำเป็นจะต้องแสดงออกมานักก็อย่าแสดงขนาดนั้น เช่น ตบตีกันจ้าละหวั่น หรือว่าผิดหวังก็ฆ่าตัวตาย ฆ่าคนอื่น อย่างนี้ถ้าลดลงได้จะช่วยได้เยอะ ทุกอย่างใช้วิธีพูดคุยกัน อันนี้ก็เป็นวิธีที่หนึ่ง อันที่สองคือที่ยังหนักใจอยู่ เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ทำให้มนุษย์ขาดสติ อันนี้เยอะไปหมดเรื่องเหล้า สุรา เบียร์ทั้งหลาย อันนี้มากมายมหาศาล ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องไปพิจารณากฎหมายว่าขณะนี้เราควบคุมทั้งโฆษณาเหล้าในช่วงเวลาไหน แต่เบียร์โฆษณาได้ทุกเวลา อันนี้คงต้องมาคุยกันให้มากขึ้น ก็คงต้องอาศัยมาตรการทางกฎหมาย แต่ว่ามาตรการแรกคือตกลงร่วมใจกันว่า จะดูแลกันเองอย่างไรให้กระทบกับสังคมน้อยสุดกับสองคือใช้มาตรการทางกฎหมายกับบางเรื่อง เช่น อินเตอร์เน็ต ที่มีร้านเปิดเต็มไปหมด
คุณศิริบูรณ์ : มีโทรสารมาจากคุณศิริรัตน์ นนทบุรี บอกว่าร้านเกมเปิดมากมายมีลูกศิษย์ติดเกมมากๆ เกมที่เล่นส่วนใหญ่คือเกม Ragnarok ซึ่งดูแล้วเหมือนนรกจริงๆ ใช้อาวุธทำร้าย ทำลายล้างตลอด มิหนำซ้ำยังมีร้านบ้าที่เปิดเถื่อนให้ถึงเช้าก็มีไม่เสียภาษีด้วย อยากฝากให้ท่านนายกฯ กำจัดด่วนมิฉะนั้นเยาวชนไทยจะต้องสูญเสียไปกับเกมนรกเหล่านี้แน่ เพราะหนังสือก็ไม่ยอมเรียนเสียคนไปเลย
คุณวัลลภ : เสียคนมาก ต้องขอบคุณแฟกซ์นี้ที่เข้ามา เพราะว่าจะได้กระตุ้นกระทรวงไอซีที เพราะท่านก็ตั้งหลักนานมากก็ไม่ทำอะไรสักที
คุณศิริบูรณ์ : เรื่องของสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากภาครัฐที่ควรจะเข้ามาดูแล ซึ่งดิฉันก็ไม่อยากจะตั้งความหวังไว้กับภาครัฐมาก เพราะว่ามันมีกลไกอะไรต่างๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลา เราทำอะไรในระยะสั้นตรงนี้ก่อนได้ไหมคะ
คุณวัลลภ : ขณะนี้มีเครือข่ายพ่อแม่ลูกจัดขึ้นมาหลายแห่ง คือทุกโรงเรียนเขาบอกเขาไม่ไหวแล้ว ลำพังครูไม่ไหวแล้ว พ่อแม่เขาก็เลยรวมกันเป็นเครือข่ายพ่อแม่โรงเรียนแห่งนั้นเขาเริ่มเครือข่ายพ่อแม่ครูประจำชั้น คือในห้องทั้งห้องมีอะไรปรึกษาหารือกันไหม แล้วก็เครือข่ายนี้จะไปไกลถึงขั้นบางเรื่องถ้ามันกระทบกับเด็กมากเขาจะร้องเรียนต่อผู้ใหญ่ เช่น ร้านเกมตั้งขึ้นรอบโรงเรียนหมด กลุ่มพ่อแม่นี้ไม่ยอมแล้วอย่างนี้จะเป็นพลังใหญ่ ฉะนั้นถ้าพ่อแม่ทุกโรงเรียนรวมกันได้ อย่าว่าแต่ร้านเกมเลยสถานบริการทั้งหลายก็อยู่ไม่ได้
คุณศิริบูรณ์ : แล้วเขารวมตัวกันทำอะไรบ้างคะ
คุณวัลลภ : ไปร้องเรียนผู้ใหญ่ เพราะว่าผู้ใหญ่คือส่วนของรัฐ ถ้ามีประชาชนมาร้องเรียนเขาจะมีกำลังใจ แล้วจะมีแนวที่จะไปจัดการได้ เพราะพวกนี้คือฐานเสียงทั้งหมด
คุณศิริบูรณ์ : ผู้ใหญ่นี้อาจจะต้องอยู่ในซีกของนักการเมืองด้วย
คุณวัลลภ : ถูกต้อง ต้องมีนักการเมือง
คุณศิริบูรณ์ : เพราะว่าท่านจะได้ฟังเสียงประชาชนด้วยเหมือนกัน เดี๋ยวเราจะกลับมาคุยกันต่อเรื่องนี้ วันนี้โทรศัพท์เข้ามามากมายทีเดียว สกศ. จะมอบหนังสือ Education in Thailand เล่มนี้ให้กับทางผู้ชมที่ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเข้ามาว่าเราจะแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในเยาวชนของเราได้อย่างไร เขียนคำถามลงไปใน เว็บไซต์ ของ สกศ. www.onec.go.th 10 ท่านที่เขียนเข้าไปแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเด็ก สกศ.จะจัดส่งหนังสือไปให้ท่านถึงบ้าน พักกันสักครู่หนึ่งกลับมาคุยกับครูหยุยในช่วงสุดท้ายค่ะ
….ท่านผู้ชมรายการเช้าวันนี้สดพร้อมกัน 155 ประเทศทั่วโลก มีโทรสารมาจากคุณทิปวี ถ้าดิฉันอ่านผิดขออภัยเพราะว่าโทรสารค่อนข้างจะจางมองไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร แต่เท่าที่พอสรุปใจความได้ก็คือ เสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องของการถ่ายทอดการกีฬามวยปล้ำนะคะครูหยุย เป็นการแสดงแต่เป็นความรุนแรง เราควรจะงดการถ่ายทอดกีฬาประเภทนี้ทางทีวีได้หรือไม่
คุณวัลลภ : ประเทศไทยเป็นประเทศเสรี คิดจะทำอะไรลำบาก นอกว่าไปจัดเรื่องเวลาการถ่ายทอด ในบ้านเราไม่มีการจัดเรื่องเวลา และอายุ แม้กระทั่งภาพยนตร์ ผมคิดว่ามันถึงเวลาที่ต้องจัดเร่งด่วน แต่ขณะเดียวกันก่อนจะจัดเรื่องเลท ผมห่วงเรื่องคณะกรรมการจัดเลทด้วย คือกรรมการบ้านเราตอนตั้งขึ้นใหม่ก็แข่งขันดี แต่พอระยะเวลานานไปเขาจะให้ผู้แทนไป มีแต่ตัวแทนกระทรวง ยิ่งเป็นคนซึ่งไม่ได้เรื่องก็คือว่าเขาไปแบบไม่ได้เต็มที่จริงๆ เลยผ่านทุกอย่างมาง่ายเกินไป อันนี้เป็นประเด็นปัญหาสำคัญของบ้านเรา
คุณศิริบูรณ์ : จากเชียงใหม่ อยากจะให้มีข้อห้ามนักร้องนักแสดงที่มาออกรายการโทรทัศน์ ไม่ให้แต่งตัววาบหวิวหรือไม่เหมาะสมเพราะว่าเด็กปัจจุบันจะเลียนแบบสื่อ
คุณวัลลภ : ควรจะเริ่มจากโทรทัศน์ของรัฐเสียก่อน เพราะเปลี่ยนง่ายที่สุด ถ้าเราเริ่มโดยการไม่ให้ ตั้งแต่เรื่องเล่นเกมด้วย ถ้าเราเริ่มตรงนี้ได้ก็จะช่วยได้เยอะ
คุณศิริบูรณ์ : จากกรุงเทพฯ ฝึกให้เด็กยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นมาให้ได้แล้วก็ปลูกฝังให้เด็กตั้งแต่เล็กๆ นี้ดีที่สุด
คุณวัลลภ : ขอบคุณมากเลย อันนี้เป็นสิ่งที่อยากพูดมาก ถ้าเราให้เด็กเรียนอย่างเดียวเด็กจะไม่ค่อยได้เข้าใจสังคมมากนัก ถ้าเด็กเรียนทำเรื่องกิจกรรมไปคู่ เด็กจะรู้เลยว่าความทุกข์คืออะไร เช่นไปเจอคนที่มีความทุกข์ ความสุขคืออะไร ความสำเร็จคืออะไร ความล้มเหลวคืออะไร ตรงนี้เด็กจะแกร่ง พอแกร่งก็จะเข้าใจชีวิตว่าชีวิตมีค่า คนอื่นเขายากจนกว่าเราเขายังอยู่ได้ การทำกิจกรรมจะสอนมนุษย์ให้เป็นคนที่สมบูรณ์
คุณศิริบูรณ์ : เล่นกีฬาได้มากที่สุด
คุณวัลลภ : ก็เป็นกิจกรรมหนึ่ง ผมคิดว่าเป็นนโยบายชัดเลยว่าถ้าเราให้เด็กเราสนใจกิจกรรมมากเท่าไร เขาจะหลุดออกจากปัญหาไปหมดเลย ตั้งแต่เรื่องการเที่ยวเตร่ การติดยา การฆ่าตัวตาย การฆ่าคนอื่นจะลดลงมาก
คุณศิริบูรณ์ : มีโทรสารมาอีกฉบับหนึ่งจากผู้ปกครองคนหนึ่งบอกว่า มีปัญหามากเรื่องร้านเกม ตอนนี้อยู่พัทยา มีลูกอยู่ที่โรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่ง บอกว่าห้างสรรพสินค้าจะมีร้านเกมแล้วเด็กก็แต่งชุดนักเรียนไปเล่นเกม เขาอยากให้รัฐบาล ตำรวจเอาจริงเอาจังเรื่องเวลาเปิดปิดของร้านเกมด้วย
คุณวัลลภ : อันหนึ่งก็เห็นด้วยว่าต้องให้จดทะเบียนเพราะจดทะเบียนจะคุมเรื่องเวลาเปิดปิดได้ สองต้องไปตกลงกันว่าเวลาในห้าง เช่น ช่วงเวลา 8 โมงถึงเที่ยงเวลาเรียนห้ามเผยแพร่เกม เช่น เกมแรคนาร็อก ก็จะมีวิธีการอยู่ ที่ผมฟังมาทางเจ้าของรายการเขาบอก ไม่ติดใจขอให้รัฐสั่งการมา อันนี้ก็ต้องการความเด็กขาดของรัฐเหมือนกัน แล้วก็หวังว่ารัฐท่านตั้งท่ามานานแล้วขอให้ท่านทำสักที
คุณศิริบูรณ์ : สงสัยต้องให้ท่านนายกฯ ลงมาลุยอีกเรื่องหนึ่งหรือเปล่า
คุณวัลลภ : สงสารท่าน รัฐมนตรีควรจะทำหน้าที่ได้
คุณศิริบูรณ์ : ฝากคุณหมอสุรพงษ์ไว้ด้วยแล้วกัน กระทรวงวัฒนธรรมไม่มีบทบาทเลยอยากให้รณรงค์กันเยอะๆ ได้เชิญกระทรวงวัฒนธรรมมาร่วมประชุมด้วยหรือเปล่าค่ะ
คุณวัลลภ : วันศุกร์นี้ท่านรองจาตุรนต์จะเชิญกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการหรือประชาสังคม กระทรวงมหาดไทยทุกกระทรวงที่ว่านี้มาประชุมร่วมกัน
คุณศิริบูรณ์ : จะมีวิธีใดบ้างที่จะแก้ไขพฤติกรรมความรุนแรงที่เด็กเล็กๆ แสดงออกมา เช่น การขว้างข้าวของทิ้งหรือว่าการทำร้ายสัตว์
คุณวัลลภ : อันนี้เป็นช่วงเวลาทองถ้าเด็กเล็กต้องรีบที่จะยับยั้งเขาโดยการอธิบาย บอกให้รู้ ต้องปากเปียกปากแฉะเลย แต่ว่าต้องดูว่าเขาเรียนแบบมาจากอะไร อาจจะมาจากเราหรือเปล่า เพราะบางคนเด็กไปโรงเรียนพูดหยาบมากเลย หาสาเหตุตั้งนาน ปรากฎว่ามาจากครอบครัวที่มีแม่ด่าหยาบคายมาก
คุณศิริบูรณ์ : สิ่งแวดล้อมสำคัญมาก ถ้าไม่ใช่ตัวเราก็ดูรอบบ้าน ญาติพี่น้องมีใครเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เด็กจะจดจำจากสื่อเพราะฉะนั้นการนำเสนอสื่อจะต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหรือว่าภาพต่างๆ ที่เสนอออกมา อันนี้ก็ฝากเรื่องสื่อนะค่ะ คำพูดของคุณครูนี้พูดจาไม่เพราะกับเด็กคุณครูชอบพูดมึงพูดกู ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กผู้หญิง ครูอาจจะรู้สึกว่าเป็นกันเอง อย่างนั้นหรือเปล่าคะ
คุณวัลลภ : มึง กู อาจจะยังไม่หยาบในความเห็นผม ขึ้นกับกาลเทศะหรือช่วงเวลามากกว่า แต่มีคำอื่นที่หยาบกว่าเยอะ เช่น ด่า เคยมีการไปทำวิจัยในสถานพินิจกับเด็กที่ติดคุก ภาษาอะไรที่รับได้เป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่เขาไม่ชอบคือไปล้อเลียนปมด้อย เช่น หัวล้าน จมูกโต
คุณศิริบูรณ์ : ฟังแล้วไม่หยาบ แต่จริงๆ คือปมด้อย
คุณวัลลภ : แต่คำพวกนี้มันจิก เด็กขอเรื่องนี้มากกว่า ฉะนั้นผมคิดว่าการใช้ภาษาของครูต้องอย่าไปกระทบปมด้อย นี้เรื่องใหญ่
คุณศิริบูรณ์ : จากกาฬสินธุ์ ในชั้นเรียนมีเด็กติดเชื้อเอชไอวีร่วมอยู่ด้วย จะมีวิธีใดบ้างที่ให้เด็กคนนั้นเรียนอยู่ในชั้นเรียนปกติสุข โดยที่เพื่อนหรือผู้ปกครองคนอื่นไม่รังเกียจ
คุณวัลลภ : ปกติเขาก็เรียนร่วมกันอยู่แล้ว เพียงแต่ปัญหาคือเรามักจะไปบอกคนอื่นว่าเด็กคนนี้ติดเชื้อ เด็กเขารู้อยู่แล้วว่าเขาติด แล้วเขาก็พยายามระวังตัวอยู่
คุณศิริบูรณ์ : ถ้าเกิดทุกคนรู้หมดแล้วอาจจะมีการตั้งข้อรังเกียจ
คุณวัลลภ : อันนี้เป็นปัญหาที่กำลังเป็นเรื่องอยู่ เขาก็เลยใช้วิธีซึ่งไม่ควรจะทำ คือเด็กย้ายไปเรียน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ฉะนั้นต้องทำความเข้าใจให้ทุกคนรู้ว่าโรคนี้ไม่ติดกันง่ายๆ
คุณศิริบูรณ์ : ให้ความรู้กับทุกคน
คุณวัลลภ : สมัยก่อนโรคเรื้อนติดกันง่าย จึงต้องมีโรงเรียนเฉพาะ แต่ว่าโรคเอดส์ติดยากมากๆ ฉะนั้นต้องให้เข้าใจว่ามันติดยากมาก สามารถอยู่ด้วยกันได้ กินอาหารด้วยกันได้ ยกเว้นไปมีเพศสัมพันธ์กันเท่านั้นที่มันรุนแรงที่สุดซึ่งมันเป็นไปไม่ได้
คุณศิริบูรณ์ : เพราะฉะนั้นให้ความเข้าใจกับเด็กนักเรียน กับผู้ปกครอง
คุณวัลลภ : เด็กเขาไม่รังเกียจกันหรอก มีแต่ผู้ใหญ่รังเกียจแทนเด็ก
คุณศิริบูรณ์ : ส่วนมากปัญหาอยู่ที่พ่อแม่มากกว่านะคะ มีนักเรียนบางโรงเรียนที่ต้องใส่ชุดธรรมดามาแล้วมาเปลี่ยนก่อนเข้าเรียนเพราะกลัวจะไม่ปลอดภัยจากนักเรียนโรงเรียนอื่น
คุณวัลลภ : ถูกต้องครับ
คุณศิริบูรณ์ : เห็นแล้วรู้สึกหดหู่ รู้สึกสงสารเด็กเพราะว่าเด็กบางคนมีความขยันและอยากจะเรียนจริงๆ จะช่วยเด็กโรงเรียนเหล่านี้ได้อย่างไร
คุณวัลลภ : กฎหมายใหม่เรื่องเครื่องแบบให้ยกเว้นได้เลย เพราะอันนี้ก็เป็นเรื่องจริงว่าเครื่องแบบบางแห่งใส่แล้วอันตราย ล่าสุดเขายิงกัน อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นว่าเราเอาเด็กเรามาผิดทาง ฉะนั้นคิดว่าเด็กอาชีวะต้องมีวิธีกับเขาแบบใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องยาวคงต้องคุยกันยาวทีเดียว
คุณศิริบูรณ์ : จากหนองคาย ทุกวันนี้บทบาทของครูเยอะอยู่แล้วเป็นทั้งครูเป็นทั้งนักจิตวิทยา ทั้งพยาบาล ทั้งตำรวจ แล้วก็อื่นๆ ควรจะแก้ไขด้านอื่นมากกว่าอย่าผลักภาระให้ครู
คุณวัลลภ : คงไม่ได้ผลักภาระ เพราะว่าอย่างที่ผมบอกถ้าครูมาทำหน้าที่นี้ก็ไม่ต้องสอน ขณะนี้เราให้ครูทำทุกเรื่อง ฉะนั้นถ้ามีครูหนึ่งคนมานั่งในห้องคลายอารมณ์อย่างเดียวไม่ต้องสอน สอนชีวิตอย่างเดียวเขาก็จะไม่เหนื่อย
คุณศิริบูรณ์ : อาจจะเอาจากบุคคลภายนอกมาได้ไหมคะ
คุณวัลลภ : ถ้าเราสามารถที่จะเชิญมาได้ เช่น นักจิตวิทยาจำนวนมากที่เขาเกษียณแล้ว เขาอยากทำงานนี้ก็มาได้ครับ โดยใช้องค์ประกอบคณะกรรมการโรงเรียนและเชิญพวกนี้มา
คุณศิริบูรณ์ : จากราชบุรี ลูกเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 3 แต่ติดเกมมากทำอย่างไรจะแก้ไขปัญหาได้อย่างนุ่มนวลที่สุด
คุณวัลลภ : ต้องพยายามไปเล่นกับเขา ไปอยู่กับเขา เอาคอมพิวเตอร์มาตั้งอยู่ส่วนกลางของห้อง พ่อจะใช้งานบ้างลูกจะเล่นบ้างจะได้สลับกันได้
คุณศิริบูรณ์ : ต้องหาวิธีการ พ่ออยากจะใช้คอมพิวเตอร์ย้ายออกมาข้างนอกหน่อยได้ไหม
คุณวัลลภ : ที่นุ่มนวลก็คือต้องไปอยู่ด้วยกัน แล้วก็คุยกัน
คุณศิริบูรณ์ : ยังมีความเห็นอีกมากมายหลากหลาย แต่คงจะไม่มีเวลาแล้วขอบพระคุณทุกสาย จากอุตรดิตถ์ ระยอง กาญจนบุรี กรุงเทพฯ ลำปาง ทุกความเห็นเราจะรวบรวมไว้ เพื่อจะนำไปศึกษาขยายผลต่อไปด้วย วันนี้กราบขอบพระคุณครูหยุย ท่าน สว.วัลลภ ตังคณานุรักษ์ ที่ให้เกียรติมาคุยกับเรา วันนี้หมดเวลาแล้วลาไปก่อน สวัสดีค่ะ

ความรุนแรงในวัยรุ่นและสื่อ


ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังเราจะเห็นเป็นข่าวที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป เช่น เด็กนักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน , เด็กวัยรุ่นใช้ปืนยิงคู่อริ และยิงตัวตาย กลุ่มเด็กวัยรุ่นรุมข่มขืนเด็กผู้หญิง ฯลฯ มีการใช้อาวุธที่รุนแรงและอันตราย เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นนำไปสู่สาเหตุการตายในเด็กวัยรุ่นมีจำนวนมากขึ้นนอกจากสาเหตุจากอุบัติเหตุจากยานยนต์ที่เคยเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง เด็กวัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ การปรับตัวเข้าอยู่ในสังคม ที่สำคัญโดยธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น เป็นช่วงระยะเวลาแห่งการเรียนรู้หาประสบการณ์ อยากลองสิ่งแปลกใหม่และทำในสิ่งที่ท้าทาย โดยมีความรู้สึกว่าตนเองแน่ เก่ง ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดกับคนอื่นจะไม่เกิดกับตนเองและไม่คำนึงผลที่จะเกิดตามมาในอนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ในวัยรุ่นมากมาย
เด็กวัยรุ่นเรียนรู้ชีวิตจากชีวิตจริงที่เขาดำเนินอยู่ ขณะเดียวกันเขาก็เรียนรู้หรือซึมซับความรุนแรงจากชีวิตจริงที่เขาได้เห็นได้สัมผัสจากคนใกล้ชิด , ครอบครัว , ชุมชน , สังคม , โรงเรียน , สิ่งแวดล้อม ตลอดจนจากสื่อต่างๆ ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเด็กเล็กๆ และเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบัน ความหมายของคำว่า Violence หรือ ความรุนแรง หมายถึง การกระทำที่มีหรือส่อว่ามีเจตนาที่จะกระทำให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ การบาดเจ็บนี้อาจเนื่องมาจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทบาทของเด็กวัยรุ่นนั้นในความรุนแรงนั้น อาจจะเป็นทั้งผู้กระทำและถูกกระทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสปัจจัยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ จากการศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นจะตกเป็นผู้ถูกกระทำ ( ถูกทำร้าย ) เป็น 2 เท่าของผู้ใหญ่และในปัจจุบันพบว่าเด็กที่ถูกทำร้ายและทำร้ายผู้อื่นจะมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ และผู้ชายโดยทั่วไปแล้วจะเป็นทั้งผู้ทำร้ายและผู้ถูกทำร้ายสูงกว่าเด็กผู้หญิง ยกเว้นบางกรณีเรื่องทางเพศ กลุ่มเด็กผู้หญิงจะเป็นผู้ถูกกระทำสูงกว่าเพศชายและที่น่าสนใจก็คือ เด็กที่ถูกทำร้ายคนที่เป็นผู้กระทำมักจะเป็นคนใกล้ชิดและมักจะเป็นคนในครอบครัวและสาเหตุการตายความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นมักจะเป็นสาเหตุจากการใช้อาวุธปืน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าสมมุติฐานของความรุนแรงเกิดมาจากประสบการณ์หรือการเรียนรู้ความรุนแรงที่เคยได้รับรู้ได้เห็นมาก่อน
ฉะนั้นในการแก้ไขและป้องกันปัญหาความรุนแรงจะต้องไม่ให้มีตัวอย่างหรือเห็นความรุนแรงในสังคมให้เด็กได้เห็นหรือเรียนรู้
ปัญหาความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นจะมีปัจจัยต่างๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายปัจจัยร่วมกัน ส่งเสริมให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น ปัญหาทางด้านพันธุกรรม , ฮอร์โมน , ความผิดปกติทางด้านร่างกาย , พื้นฐานทางด้านอารมณ์ , การเลี้ยงดู , สภาพทางด้านครอบครัว , วัฒนธรรม , ค่านิยม , ความเชื่อถือ , เชื้อชาติ ตลอดจนกฎเกณฑ์ทางด้านสังคมและกฎหมายต่างๆ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่ความรุนแรงที่เราพบเห็นเป็นประจำที่ปัจจุบันมีอิทธิพลอย่างมาก คือ สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ วิดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ และสิ่งที่จะชักจูงนำไปสู่ความรุนแรงได้ง่ายมากขึ้น คือ พวกเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมต่างๆ ยา สารเสพติด ฯลฯ ซึ่งกลุ่มเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงและล่อแหลมต่อสิ่งดังกล่าว ถ้าหากไม่มีการควบคุมกำกับดูแลที่ดีในปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จะมีผลเสียเกิดขึ้นตามมากับเด็กวัยรุ่นมากกว่าผลดีที่เด็กวัยรุ่นควรจะได้รับ
ในอดีตนั้นบุคลากรทางด้านการแพทย์มองปัญหาความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นเป็นเรื่องทางด้านกฎหมาย ตำรวจ ศาลพิจารณาคดี แต่ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าแพทย์จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าว รวมทั้งองค์กรต่างๆ ในสังคมทั้งภาครัฐเอกชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากจึงจะทำให้ผลที่เกิดตามมาจากความรุนแรง เช่น การตาย การกระทำความรุนแรงเป็นนิสัยปกติ , การถูกลงโทษกักขังผู้กระทำความรุนแรงหรือความผิดมีจำนวนลดน้อยลงและสังคมมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้สื่อต่างๆ ที่ทางสมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กและวัยรุ่นให้มากที่สุด พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. แพทย์ควรได้เข้าไปมีบทบาทพิจารณาดูความเหมาะสมของสื่อต่างๆ ที่มีผลต่อความรุนแรง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีมาตรการควบคุมอย่างเหมาะสม
2. แพทย์ควรจะได้ให้คำแนะนำกับผู้ปกครองให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกสื่อที่เหมาะ สมและใช้เวลาดูสื่อร่วมกับบุตรหลาน กำหนดระยะเวลาการดูโทรทัศน์ วิดีโอ 1-2 ชั่วโมง / วัน ใช้เครื่องมือ V - chip ป้องกันโปรแกรมที่ไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงวิดีโอหรือเกมส์ที่รุนแรงและไม่ควรมีโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์อยู่ในห้องนอนของเด็ก ควรอยู่ในที่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสอดส่องดูแลได้ว่าบุตรหลานกำลังทำอะไรอยู่
3. รายการหนัง , วิดีโอ , เกมส์ต่างๆ ที่จะให้เด็กดูหรือเล่น ขณะที่เด็กรอแพทย์ตรวจควรได้มีการตรวจสอบดูความเหมาะสม ควรจะเป็นเรื่องที่ไม่มีความรุนแรงเท่านั้น มีเครื่อง V - chip ป้องกัน คัดกรอง
4. แพทย์ควรให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ โรงเรียนและชุมชนให้เข้าใจและเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนเด็ก การใช้สื่อที่เหมาะสมสามารถลดความรุนแรงในเด็กลงได้
5. แพทย์ควรเข้าไปมีบทบาทชี้แนะองค์กรระดับสูงที่ควบคุมนโยบายของประเทศเกี่ยวกับการนำเสนอ เนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงที่แฝงอยู่ ทางสื่อต่างๆ ที่จะมีผลเสียกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่น พร้อมหาแนวทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม การให้การบริการทางด้านการแพทย์ ที่จะช่วยลดผลกระทบของสื่อต่อความรุนแรง
6. แพทย์ควรให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อที่สร้างสรรค์เกิดประโยชน์ต่อเด็กให้มากขึ้น ให้ความรู้แก่ ผู้ผลิตสื่อต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายจะต้องเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของสื่อต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็ก
- หลีกเลี่ยงการนำเสนอการใช้อาวุธหรือพกพา ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ว่าเป็นเรื่องปกติ หลีกเลี่ยงการนำเสนอความรุนแรงในรูปแบบการแสดงเรื่องเพศหรือในเรื่องอื่นๆ ที่ออกมาในลักษณะสนุกสนาน เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญ
- ถ้าต้องการนำเสนอเกี่ยวกับความรุนแรงจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญและบอกให้ทราบถึงผลกระทบที่จะได้รับตามมาทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำซึ่งจะต้องมีคำอธิบายที่เข้าใจได้ง่ายที่พ่อแม่สามารถอ่านก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
- วิดีโอเกมส์ต่างๆ ไม่ควรใช้คนหรือสิ่งมีชีวิตเป็นเป้ายิงและได้คะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อมีการฆ่าสำเร็จ ต้องนำเอาอายุเด็กมาเป็นข้อพิจารณาดูความเหมาะสมในการเลือกเกมส์แต่ละชนิดสำหรับเด็ก รวมถึงการแจกจ่ายหรือนำเสนอแก่เด็กในช่วงอายุต่าง ๆ
7. แพทย์ควรมีบทบาทช่วยจัดจำแนกระดับของสื่อ , เกมส์ต่างๆ เพื่อให้พ่อแม่สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
8. แพทย์ต้องเน้นย้ำกับผู้ปกครองว่าสื่อเกมส์ต่างๆ ถ้าผู้ปกครองไม่ซื้อต่อไปผู้ผลิตก็คงจะเลิกไปเอง
สื่อต่างๆ ไม่ว่าโทรทัศน์ วิดีโอเกมส์ วิดีโอเพลง เพลง ภาพยนตร์ รวมถึงสื่อโฆษณาต่างๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความรุนแรงมากที่สุดมีผลกระทบต่อความคิดค่านิยมและพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นเพราะในปัจจุบันนี้เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์ เล่มคอมพิวเตอร์ และวิดีโอเกมส์ต่างๆ มากกว่าทำกิจกรรมอย่างอื่น และเป็นการสื่อสารทางเดียว ขณะเดียวกันผู้ผลิตสื่อต่างๆ ก็มีการพัฒนาให้มีความตื่นเต้นเร้าใจ หลอกล่อให้ผู้เล่นหลงใหลในเกมส์ต่างๆ มากขึ้นโดยลืมผลกระทบที่จะตามมา ภาพยนตร์ที่เหมือนความเป็นจริง และมีคนเป็นผู้แสดงยิ่งทำให้ดูเหมือนจริงและเด็กเลียนแบบได้ง่ายขึ้น
ฉะนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้มากขึ้นแล้ว พยายามป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าทีจะทำได้ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชนหรือระดับประเทศ การนำเสนอความรุนแรงควรจะต้องแสดงให้เห็นผลกระทบที่ตามมาด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กเข้าใจได้อย่างถูกต้องและที่สำคัญที่สุดคือผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กวัยรุ่น ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยไมใช้ความรุนแรง ซึ่งจะช่วยปลูกฝังและหล่อหลอมเด็กเหล่านี้ เพื่อทำให้ปัญหาความรุนแรงต่าง ๆ คงลดน้อยลงหรือหมดไป

6/11/54

ความรุนแรงในครอบครัว



มนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง ๆ จะเติบโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่มีร่างกายสถานะตัวตนในสังคมได้ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลจากสถาบันหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นหน่วยย่อยและเล็กที่สุดในสังคม สถาบันนั้นคือ "ครอบครัว" ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างหลากหลายกันไปตามแต่สถานะและสภาวะการณ์ของครอบครัวนั้นๆ ว่าจะประกอบสร้างให้มีใครบ้าง ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา หรือญาติพี่น้องอื่นๆ นอกจากสถานะทางบุคคลที่มีความสำคัญแล้วมิติในด้านสัมพันธภาพ อันได้แก่ ความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจดูแลเอาใจใส่ห่วงใยซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลในครอบครัว ก็เป็นส่วนสำคัญในการประกอบร่างสร้างตนให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาเป็นประชาชนพลเมืองที่มีความสามารถและประสิทธิภาพได้


จะเห็นได้ว่ามิติความสัมพันธ์ทางครอบครัวมีความเชื่อมโยงกันทั้งทางร่างกายและจิตใจในด้านที่ดีเป็นสำคัญ แต่ในสภาพความเป็นจริงนั้นหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงและแอบแฝงไปด้วยความรุนแรงกลับซ่อนเร้นอยู่ในสถาบันที่แยกย่อยและสำคัญที่สุดในสังคม ทำให้พื้นฐานบุคลิกของผู้คนซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวถ่ายทอดเอาเจตคติและเกิดการเลียนแบบกระทำตามต่อกันมา หากอยู่ในสถานะที่ร่างกายและความคิดถูกกดดันจะถูกระบายออกมาด้วยการกระทำความรุนแรงกับสมาชิกในครอบครัวต่อไป ทำให้ครอบครัวเกิดความอ่อนแอในด้านสัมพันธภาพและเกิดเป็นปัญหาทางสังคมติดตามมาในภายหลัง


สิ่งเหล่านี้เราจะสามารถเห็นได้จากภาพข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันต่างๆ ที่ลงตีพิมพ์ข่าวความรุนแรงภายในครอบครัวไม่เว้นแต่ละวัน นอกจากจะทำให้เห็นว่าการกระทำความรุนแรงกับบุคคลในครอบครัวมีการกระทำกันอยู่เป็นอาจิณแล้ว ยังมีแนวโน้มที่ระดับความรุนแรงจะมีมากขึ้นตามลำดับ จากเมื่อก่อนอาจจะเพียงแค่การทำร้ายร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บแต่ปัจจุบันมีการลงไม้ลงมือถึงขั้นเสียชีวิต หรือมีการใช้อาวุธประกอบการกระทำความรุนแรงจนทำให้ถึงขั้นพิการและขยายวงในการทำอันตรายไปสู่ผู้คนรอบข้างมากขึ้นอีกด้วย


สำหรับความรุนแรงในครอบครัวที่ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันในช่วงปี 2543-2544 จากการรวบรวมของมูลนิธิเพื่อนหญิง (2545) พบว่ามีรวม 228 ราย โดยร้อยละ 72 เป็นการทำร้ายกันหรือทำร้ายตนเองจนถึงแก่ชีวิต แยกได้เป็นกรณีสามีฆ่าภรรยาร้อยละ 39 ภรรยาฆ่าสามีร้อยละ 14 พ่อฆ่าลูกร้อยละ 7 แม่ฆ่าลูกร้อยละ 6 และภรรยาฆ่าตัวตายร้อยละ 5


ทำให้เห็นได้ว่าความรุนแรงในครอบครัวนี้เป็นปัญหาที่คุกคามและละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเป็นอย่างมากและผู้กระทำส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ชายกระทำต่อผู้หญิงหรือเด็กซึ่งเป็นบุคคลที่มีความอ่อนแอกว่า ซึ่งผู้กระทำนั้นอาจจะมีบทบาทหน้าที่เป็น"พ่อ" เป็น "สามี" หรือญาติพี่น้องต่างๆ และการกระทำนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางด้านจิตใจ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามักจะพบว่าผู้ถูกกระทำมักจะต้องเผชิญปัญหาโดยคนเดียวลำพัง เนื่องจากทัศนคติในสังคมที่มองว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัวของครอบครัวนั้น ๆ บุคคลอื่นที่ไม่มีความสัมพันธ์ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว อันนำไปสู่การขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองและจัดการปัญหาเหล่านั้นทั้งในระดับชุมชนและในสังคมโดยรวม


จากการกระทำความรุนแรงภายในครอบครัวดังกล่าวได้มีการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ถูกกระทำโดยเฉพาะที่เป็นเพศหญิงว่าเกิดผลในการกระทำทั้งทางด้านกายและทางเพศ ในด้านกายหมายรวมถึงการกระทำอันได้แก่ การผลัก กระแทก ปาสิ่งของ บีบคอ รัดคอ ตบ ต่อย ตี เตะ ลาก ซ้อม เผา ขู่ว่าจะใช้อาวุธทำร้าย หรือลงมือใช้อาวุธทำร้าย ในด้านเพศหมายรวมถึงสถานการณ์ต่อไปนี้คือ การถูกบังคับร่วมหลับนอน การจำยอมมีเพศสัมพันธ์เพราะความกลัว หรือถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ในท่าที่ผู้หญิงรู้สึกว่าผิดธรรมชาติหรือรับไม่ได้


และผลจากการกระทำเหล่านี้ได้สร้างผลกระทบให้แก่ผู้หญิงที่ถูกคู่ของตนกระทำความรุนแรงพบว่า ส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจอย่างชัดเจน คือมีผลต่อสุขภาพโดยรวม และผลจากการบาดเจ็บที่ได้รับโดยตรงเมื่อถูกทำร้ายทางกาย และที่น่าสังเกตว่าในกลุ่มที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงทางกายอันสมควรไปรับการรักษาพยาบาล ปรากฏว่าประมาณ 1 ใน 3 ไม่ยอมไปรับการรักษา ทั้งนี้กลุ่มผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงทั้งทางกายและทางเพศเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างเด่นชัดซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตตามปกตินั้นเปลี่ยนแปลงไป เกิดความหวาดกลัว วิตกกังวล ในรายที่คิดมากอาจเกิดภาพหลอนและนำไปสู่อาการสติฟั่นเฟือนและฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหาได้เลยทีเดียว


จากความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย ซึ่งในความเป็นจริงผู้ถูกกระทำควรมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองโดยรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากการถูกกระทำความรุนแรงนี้ด้วย เพราะตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีนั้นได้ระบุไว้ว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิในชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัยในร่างกายและยังมีสิทธิในความเสมอภาคทางกฎหมาย (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 3 และข้อ 6) อีกด้วย


นอกจากนี้ยังมีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (The Convention on the Elimination of Alls Forms of Discrimination Against Women) หรือที่เรามักจะเรียกว่า CEDAW ซึ่งจำเป็นต้องทำให้รัฐไทยมีการส่งเสริมสถานภาพสตรีอย่างแท้จริง อันได้แก่ การแก้กฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อสตรี การมีหลักสูตรเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิมนุษยชนของสตรีในการศึกษาทุกระดับ การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในงานนะดับบริหารในทุกภาคส่วนของสังคม และการออกกฎหมายโดยเฉพาะที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้หญิง ต้องให้ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมหรือปรึกษาหารือผู้หญิง เป็นต้น


และจากข้อตกลงใน CEDAW นี้เองทำให้รัฐไทยจำเป็นต้องหันมาใส่ใจและปรับเปลี่ยนกระบวนการในการให้ความเป็นธรรมแก่สตรี โดยเฉพาะในกรณีความรุนแรงภายในครอบครัวซึ่งผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้หญิง เพราะในปัจจุบันการปกป้องผู้หญิงจากการได้รับความรุนแรงภายในครอบครัวใช้มาตรการทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาบังคับใช้ ซึ่งยังมีความไม่เหมาะสมกับการกระทำที่เกิดขึ้น เนื่องจากกฎหมายอาญามีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดมากกว่าที่แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด หรือปกป้องคุ้มครองผู้ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัว


ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัวโดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา แก้ไขเป็นร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวและประกาศใช้แล้วในปี 2551 ที่ผ่านมา นับเป็นก้าวสำคัญของสังคมไทยในการสร้างกลไกคุ้มครองและพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาเนื่องจากความรุนแรงในครอบครัว อันเป็นปัญหาที่คุกคามและเป็นรูปแบบหนึ่งของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมบ้านเรา


ประโยชน์จากการมีกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวฉบับนี้ คือจะมีความเหมาะสมกว่ากระบวนการทางอาญาเพราะสามารถกำหนดรูปแบบ วิธีการ และขั้นตอนที่มีลักษณะแตกต่างกว่าการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป ทั้งให้ผู้กระทำความผิดมีโอกาสกลับตัวและยับยั้งการกระทำผิดซ้ำ รวมทั้งรักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวไว้ได้ ประกอบกับมาตรา 52 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีบทบัญญัติให้เด็ก เยาวชนและบุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นด้วย


จากการที่ร่างพระราชบัญญัตินี้ได้ประกาศออกมาใช้เปรียบเสมือนการกระตุ้นให้หน่วยงานผู้หญิงหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมเสนอข้อพิจารณาตัวบทกฎหมายให้มีความรัดกุมและชัดเจนขึ้นในวิธีการปฏิบัติ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้มาจากภาคประชาสังคมในเวทีสัมมนาระดับภูมิภาคซึ่งจัดขึ้นโดยแนวร่วมเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิงได้แจกแจงให้เห็นถึงความคิดเห็นของสตรีที่คาดหวังต่อตัวบทกฎหมายนั้นดังนี้คือ
  1. ให้รัฐตระหนักว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งมีความละเอียดอ่อนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์หญิงชาย มีรูปแบบการกระทำรุนแรงทางกาย ทางจิตใจและทางเพศตามที่ระบุในปฏิญญาสากลว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิง ความรุนแรงในครอบครัวมีผลคุกคามต่อสิทธิและความปลอดภัยในชีวิต ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางกายและใจในระดับที่แตกต่างกัน จึงควรตระหนักถึงความต้องการและการจัดการปัญหาที่หลากหลายของผู้ประสบปัญหาซึ่งมีตั้งแต่การไกล่เกลี่ยเจรจาไปจนถึงการดำเนินคดีเอาผิดกับสามี
  2. ให้รัฐตระหนักว่าความรุนแรงในครอบครัวมีความแตกต่างเมื่อเกิดกับกลุ่มที่ต่างเพศ ต่างวัย และที่เกิดจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจ จำเป็นต้องคำนึงถึงมิติความสัมพันธ์หญิงชายโดยมีมาตรการพิเศษคุ้มครองสวัสดิภาพความปลอดภัยของหญิงที่ประสบความรุนแรง ในขณะที่กฎหมายนี้จะให้ความคุ้มครองต่อคนทุกคนที่เป็นสมาชิกในครอบครัว เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักถึงสภาพที่เปราะบางกว่าของผู้ถูกกระทำที่เป็นหญิงและมีมาตรการปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
  3. รัฐต้องเคารพการตัดสินใจของผู้ถูกกระทำความรุนแรงโดยมีมาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยให้ข้อมูลเพื่อให้หญิงที่ประสบปัญหาสามารถตัดสินใจและดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อพ้นจากความรุนแรง หากจะใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยจะต้องมาจากความต้องการของหญิงที่ประสบปัญหาและมีหลักประกันว่าผู้ถูกกระทำจะปลอดภัยอย่างแท้จริงจากการถูกกระทำซ้ำ ให้ดำเนินตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเมื่อหญิงที่ประสบปัญหาต้องการและช่วยเหลือสนับสนุนให้ยุติการสมรสเมื่อหญิงที่ประสบปัญหาตัดสินใจหย่าเพื่อแยกทางกับสามี
  4. ให้มีการศึกษาเพื่อประเมินว่ากระบวนการบำบัดพฤติกรรมสามีที่ชอบใช้ความรุนแรงมีประสิทธิภาพเพียงใด ควรจะมีมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้สามีที่เข้ารับการปรับพฤติกรรมมากระทำซ้ำหญิงที่เป็นภรรยา รวมถึงกรณีการบำบัดจากการติดสุราซึ่งมีผลกระตุ้นให้สามีกระทำการรุนแรงด้วย
  5. จัดสวัสดิการที่เหมาะสมและเพียงพอให้กับหญิงที่ประสบความรุนแรงจากสามีทั้งในภาวะวิกฤตและในระยะยาว เนื่องจากในปัจจุบันมีการให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าที่จำกัดโดยเฉพาะแหล่งพักพิงสำหรับหญิงที่ประสบความรุนแรงในครอบครัวไม่เพียงพอกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป รวมถึงการให้คำปรึกษาและเข้าถึงหญิงที่ประสบปัญหาในระยะยาว ควรจัดบริการดูแลสุขภาพทั้งทางกายและการเยียวยาจิตใจ สนับสนุนความเข้มแข้งทางเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้ประสบปัญหาสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ด้วยการพึ่งตนเอง
แลทั้งหมดทั้งมวลนี้ คือแนวทางที่จะสร้างระบบระเบียบใหม่ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนแนวคิดและทัศนคติของผู้คนในสังคมต่อเรื่อง "ความรุนแรงในครอบครัว" ที่จะไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของใครของมันอีกต่อไป แต่คนทุกคนในสังคม หน่วยงานทุกภาคส่วนในสังคมและของรัฐจำเป็นที่จะต้องออกมาปกป้องและคุ้มครองบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อเหล่านี้ เพราะความรุนแรงในครอบครัวเป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นได้ง่ายมากในสังคมบ้านเรา ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หากแต่ประชาชนทั่วไปยังได้รับความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยประชาชนคนไทยด้วยกันเองและเกิดในสถาบันที่สำคัญและเล็กที่สุดในสังคม นั่นถือว่าสังคมเราไม่มีความปลอดภัยและไร้สันติสุข เพราะความรุนแรงในครอบครัวเปรียบเหมือนภาพสะท้อนความล้มเหลวในการส่งเสริมหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนที่สุด และเป็นการบ่อนทำลายประเทศและสังคมมากกว่าข้าศึกที่มารุกรานจากภายนอกประเทศเสียอีก


ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งของคนไทยทุกคนที่จะต้องหันหน้ามาร่วมมือและใส่ใจกันในเรื่อง "การยุติความรุนแรงภายในครอบครัว" เพราะหากขาดความร่วมมือจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้วการแก้ไขปัญหาในจุดนี้คงไม่ประสบความสำเร็จเพราะการกระทำเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่และทุกเวลา หากประชาชนคนไทยทุกคนตระหนักและใส่ใจในความรุนแรงพฤติกรรมเหล่านั้นก็จะสามารถสูญสลาย เหยื่อได้รับการกป้องคุ้มครองและเยียวยาได้ทันท่วงที และนั่นหมายถึงสังคมที่สุขสงบและเต็มไปด้วยบรรยากาศที่ปลอดภัยเอื้ออำนวยให้ประชาชนทุกคนสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขชั่วกาลนาน


"ยุติความรุนแรงในครอบครัว คือการส่งเสริมสันติภาพและหลักสิทธิมนุษยชน"

5/11/54

หลักการฝึกวอลเลย์บอล


การฝึกวอลเลย์บอลสำหรับผู้หัดเล่นใหม่ ๆ นั้นจะต้องเริ่มจากง่ายไปยาก เพื่อผู้ฝึกเล่นใหม่จะได้มีความ
สามารถในการเล่นเกมได้เป็นอย่างดี การฝึกขั้นพื้นฐานจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับนักกีฬาที่ปรารถนาจะเป็น
นักกีฬาที่มีความสามารถในการเล่นเกม การฝึกจะก่อให้เกิดประโยชน์โดยสมบูรณ์ ซึ่งมีลำดับการฝึกอยู่
3 ขั้นตอน
1. การเตรียมตัวก่อนเล่น
2. การฝึกทักษะเบื้องต้น
3. การฝึกเป็นทีม

การเตรียมตัวก่อนเล่น
การเตรียมตัวก่อนเล่น (Warm up) ผู้เล่นจำเป็นต้องอบอุ่นร่างกายก่อน
เพื่อให้เกิดความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจก่อนจะเล่นลูกบอล โดยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของ
ร่างกายรู้ตัวก่อนมีการยืดหยุ่นพอประมาณ การเคลื่อนไหวของเท้า (Foot Work) เป็นรากฐานที่
ช่วยรักษาความมั่นคงในการทรงตัวมีความสำคัญในการเล่นวอลเลย์บอลมาก

วิธีปฏิบัติ ไปทางซ้าย
1. ยืนให้เท้าทั้งสองข้องขนานกัน ย่อเข่าและก้มตัวลงไปข้างหน้าเล็กน้อย
2. ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้ายของลำตัวด้านข้าง 1 ก้าว ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายใน จังหวะเดียวกัน ก้าวเท้าซ้าย
ออกไปอีกหนึ่งก้าว
3. ทำซ้ำ ข้อ 2 ไปเรื่อย ๆ

วิธีปฏิบัติ ไปทางขวา
วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับไปทางซ้าย แก่ให้ก้าวเท้าไปทางขวาแทน

วิธีปฏิบัติ ไปข้างหน้า
1. ยืนให้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้า เท้าทั้งสองห่างกันพอสบาย ย่อเข่าและก้มลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
2. ก้าวเท้าหน้าไปข้างหลัง 1 ก้าว ก้าวเท้าหลังชิดเท้าหน้า (โดยให้ปลายเท้าหลังแตะส้นเท้าหน้า ใน
จังหวะเดียวกันก้าวเท้าหน้าไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว

วิธีปฏิบัติ ไปข้างหลัง
วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับไปข้างหน้า แต่ให้ถอนเท้าไปข้างหลังแทน (โดยให้ส้นเท้าหน้าแตะปลายเท้าหลัง)

ข้อแนะนำ การก้าวเท้าหนึ่งชิดอีกเท้าหนึ่งต้องทำอย่างรวดเร็วในลักษณะสืบเท้าตาย
การบริหารร่างกายก่อนการฝึกซ้อมกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อให้ได้ทั้งความเร็วและความอดทน สามารถทำได้
หลายวิธี เช่น
ลำดับของการบริหารร่างกาย (ตัวอย่างสำหรับผู้เล่นชาย)
1. วิ่งโยกตัวสลับเท้าซ้าย-ขวา
2. ย่อและกระโดดขึ้น
3. ก้าวด้านหน้าไปทางซ้าย
4. ม้วนตัวไปทางซ้าย
5. ย่อและกระโดดหมุนตัว
6. ก้าวด้านข้างไปทางขวา
7. ม้วนตัวไปทางขวา
8. กระโดดเข่าตีอก 3 ครั้ง
9. กลับหลังหันพุ่งตัว
10. กระโดดเท้าชิด และเท้าแยก สลับกันไปข้างหน้า 5 ครั้ง
11. ก้มถอยหลังใช้นิ้วมือแตะพื้นระยะทางประมาณ 3 เมตร
12. นอนหงาย
13. กระโดดมือแตะปลายเท้า
14. นอนคว่ำ
15. กระโดดแอ่นหลัง
16. พุ่งไปด้านหน้า
17. กระโดดสลับฟันปลา 2 เท้า ถอยหลัง 6 ครั้ง
18. กระโดดกระต่าย 5 ครั้ง
19. ม้วนหลัง 2 ครั้ง
20. ทำล้อเกวียนไปทางซ้าย
21. พุ่งไปทางซ้าย
22. ทำล้อเกวียนไปทางขวา
23. พุ่งไปทางขวา

ทั้ง 23 รายการดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 35-50 นาที ติดต่อกัน
การบริหารร่างการก่อนเลิก
1. วิ่งธรรมดา
2. วิ่งเหยาะ ๆ
3. ขยับให้เส้นสายหย่อน
4. บริหารให้กล้ามเนื้อคลายความตรึงเครียด
5. บริหารโดยการหายใจเข้าออกให้สัมพันธ์กับท่าที่บริหาร

การฝึกเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล เพื่อให้ประสาทตาและร่างกายส่วนที่จะใช้สัมผัสกับ
ลูกบอล ให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าลูกบอลจะอยู่ในลักษณะใดก็ตามที่เราสามารถ
ที่จะเคลื่อนตัวไปยังจุดที่ลูกบอลจะตกลงได้และสามารถที่จะใช้มือบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการโดยที่
ไม่ผิดกติกา

วิธีปฏิบัติ ท่านั่ง
1. ให้ลูกบอลอยู่ระหว่างขาแล้วยกขาขึ้นเป็นรูปตัว "วี" หมุนขาไปรอบ ๆ
2.ให้ลูกบอลอยู่ระหว่างขาแล้วก้มให้ศรีษะแตะพื้น พ้นคอกับคาง กลิ้งม้วนตัวไปข้างหน้า
3. นอนราบกับพื้นให้ลูกบอลอยู่ในระหว่างขาใช้ขาหนีบบอลยกมาแตะศรีษะ
4. นอนราบมือจับลูกบอล กลิ้งไปข้าง ๆ
5. นั่งส่งลูกบอลด้วยเท้า
6. นั่งขวางลูกบอล ส่งลูกบอลระดับอก ขว้างลูกบอลข้ามตัว
7. นั่งเลี้ยงลูกบอลลอดขาตัวเอง

วิธีปฏิบัติ ท่ายืน
1. ส่งลูกบอลหมุนรอบขาให้เป็นเลข 8
2. ส่งลูกบอลรอบตัวให้เป็นวงกลม
3. ขว้างลูกบอลไปข้างหลังโดยผ่านช่องขาข้างล่าง
4. กระโดดโดยมีลูกบอลอยู่ระหว่างขา
5. จับลูกใต้ขาสลับกัน
6. จับลูกใต้ขาขณะก้าวเดิน
7. ส่งลูกบอลลอดขาไปข้างหลังให้ลูกบอลข้ามศรีษะตัวเอง

วิธีปฏิบัติ การเปลี่ยนตำแหน่งและท่าทางต่าง ๆ ของผู้ฝึก
1. กลิ้งลูกบอลไปทาง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ระหว่างขา
2. เคลื่อนที่เป็นจังหวะโดยกระโดดหรือสืบเท้าไปข้างซ้าย ข้างขวา แล้วกลิ้งตัว
3. ใช้มือเดียวโยนลูกบอลขึ้นแล้วจับลูกบอล
4. ใช้มือตีลูกบอลทางด้านข้าง (สันมือ) คล้ายตีเทนนิส ทั้งมือซ้ายและมือขวา
5. วิ่งใช้มือเลี้ยงลูก (เคาะลูกบอล)
6. ใช้หัวโหม่งลูกบอลแล้วพุ่งตัวลง (หมอบลง)

การฝึกความคล่องตัวในการเล่นวอลเลย์บอลของนักกีฬานั้นจะเป็นเครื่องช่วยให้นักกีฬามีความเหมาะสม
ที่จะเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถได้เป็นอย่างดี

การส่งลูกบอล
1. ส่งลูกด้วยมือล่าง
2. ส่งลูกด้วยมือบน หรือการส่งลูกผ่าน
3. การเสิร์ฟ

การรับลูกบอล
1.รับลูกบอลจากการรุกของคู่ต่อสู้ (ตบหรือหยอด)
2. การรับลูกเสิร์ฟ
3. การสกัดกั้นลูกบอล

การตบลูก
1. ตบลูกเป็นมุมแหลมลงในแดนคู่ต่อสู้
2. ตบลูกเพื่อส่งลูกข้ามตาข่าย 

รู้จักวอลเลย์บอล


วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่เล่นโดยทีม 2 ทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย ลักษณะการเล่นอาจแตกต่างกันได้ตามสภาพที่จำเป็นเพื่อให้ทุกคนเล่นกันได้แพร่หลาย กีฬาชนิดนี้จัดเป็นกีฬานันทนาการที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก

จุดมุ่งหมายของการแข่งขันก็คือ การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นที่ในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นที่ในเขตแดนของตน แต่ละทีมจะสัมผัสลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ในการส่งลูกบอลไปยังแดนของทีมตรงข้ามสัมผัสบอลแค่ครั้งเดียวก็ได้ โดยปกติแล้วการสัมผัสลูกบอลครั้งแรกก็คือ การรับลูก เสิร์ฟ จากฝ่ายตรงข้าม ครั้งที่ 2 คือ การ set บอลขึ้นบนอากาศ เพื่อให้ครั้งที่ 3 ซึ่งปกติจะใช้ตบลูกบอลทำได้อย่างสะดวก

การเล่นจะเริ่มต้นเมื่อทำการ เสิร์ฟ ลูกบอล โดยผู้เสิร์ฟ ส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังทีมตรงข้าม การเล่นจะดำเนินไปจนลูกบอลตกลงบนพื้นในเขตสนามหรือนอกเขตสนาม หรือทีมไม่สามารถส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้ามได้อย่างถูกต้องตามกติกา

ส่วนการนับคะแนนนั้น การแข่งขัน วอลเลย์บอล จะมีการได้คะแนนทุกครั้งที่มีการเล่นลูกถ้าฝ่ายรับลูกเสิร์ฟ ชนะการเล่นลูกนั้นก็จะได้สิทธิทำการเสิร์ฟ และผู้เล่นทั้งหมดต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา 1 ตำแหน่ง
จะมีผู้เล่นอยู่ในทีมๆละอย่างมาก 12 คน และอย่างน้อย 6 คน แต่จะลงสนามได้ทีมละ 6 คน ผู้เล่นทั้ง 6 คน ในสนามอาจจะเล่นตลอดเกมหรืออาจเปลี่ยนตัวได้ตลอด ผู้เล่นที่เป็นผู้เสิร์ฟจะเป็นตำแหน่งหลังขวาสุด ซึ่งตำแหน่งของผู้เล่นทุกคนจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องหมุนเวียนแบบทวนเข็มนาฬิกาเมื่อได้สิทธิเปลี่ยนเสิร์ฟ ยกเว้นก็ต่อเมื่อขณะที่กำลังเล่นลูกอยู่ นอกจากนี้ในส่วนของนักกีฬา ยังมีผู้เล่นตัวรับอิสระ (Libero player) ซึ่งเป็นผู้เล่น 1 ใน 12 คน แต่สวมเสื้อที่มีหมายเลขและสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด สามารถเปลี่ยนตัวไปแทนผู้เล่นที่อยู่ในแดนหลังได้เมื่อลูกตายและก่อนที่ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ โดยไม่นับเป็นการเปลี่ยนตัวเข้าออกปกติ

ประโยชน์ชของวอลเลย์บอล



        การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าการออกกำลังกาย
เป็นยาขนานวิเศษ ดังคำกล่าวที่ว่า"กีฬา กีฬา เป็นยาพิเศษ"วอลเลย์บอลเป็นกีฬา
ที่ทำให้ผู้เล่นเกิดประโยชน์ดังนี้

     ๑. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่ายและเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เมื่อเล่น
วอลเลย์บอลเป็นแล้ว จะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นกีฬาได้นานกว่ากีฬาบางประเภท ซึ่งคุ้ม
กับที่ได้ฝึกฝนมาแม้แต่สตรีที่มีบุตร แล้วหากมีร่างกายแข็งแรงก็สามารถเข้าร่วม
การแข่งขันได้เป็นอย่างดี

     ๒. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม จึงต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นในทีม
มีความสัมพันธ์และรักใคร่ ปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากทีมใดขาด
ความสามัคคีแล้ว เมื่อลงแข่งขันย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก ผลของการเล่นกีฬา
ประเภทนี้จึงสามารถ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีกัน
ระหว่างหมู่คณะมากยิ่งขึ้น

     ๓. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหา
อย่างฉับพลันทันที เพราะการเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกาย
อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดี สามารถตัดสินใจ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ต่าง ๆ ได้จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น

     ๔. การเล่นวอลเลย์บอลเป็นการส่งเสริมและฝึกให้ผู้เล่นมีจิตใจเยือกเย็น สุขุม
รอบคอบ อารมณ์มั่นคง มีสมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะผู้เล่นที่อารมณ์ร้อน
มุทะลุ ดุดัน เอาแต่ใจตนเอง จะทำให้การเล่น ผิดพลาดบ่อย ๆ ถ้าเป็นการแข่งขัน
ก็จะแพ้ ฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เล่น
วอลเลย์บอล ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเอง
และสังคมอีกด้วย

     ๕. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่าง
ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจ จะเล่นตอนเช้า สาย บ่าย เย็นหรือแม้แต่ในเวลากลางคืนก็ได้
ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ และเล่นได้ทั้งในที่ร่ม หรือกลางแจ้ง

     ๖. การเล่นวอลเลย์บอล ผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายขึงกั้นกลางสนาม
ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จึงไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท
กันขึ้น

     ๗. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่น
จะต้องถูกฝึกให้มีระเบียบ มีวินัย มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความ
รับผิดชอบในหน้าที่ของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการ ปลูกฝังนิสัย อันมีผล
ที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

     ๘.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฎกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่น
ดังนั้นการเล่นวอลเลย์บอล ย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทนอดกลั้น
รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น

     ๙. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย
ให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพราะผู้เล่นจะต้องฝึกให้ร่างกายแข็งแรง มีความอดทน
มีความคล่องแคล่วว่องไว มีพลังและความเร็ว เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายแล้วยัง
ช่วยให้ ระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีและ
มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถ ของร่างกาย
ให้มีความต้านทาน ได้ดีด้วย

     ๑๐. กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรู้จักแพ้ ชนะและอภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเป็น
สื่อกลาง ก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและมีสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกัน
ทั้งระหว่างภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้อย่างดี

     ๑๑. ปัจจุบันผู้เล่นวอลเลย์บอลที่มีความสามารถสูง ยังมีสิทธิ์ได้เข้ามาศึกษาต่อ
ในระดับสูง บางสาขา บางสถาบัน ทั้งสถานการศึกษาของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมี
หลายหน่วยงาน รับบุคคลที่เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลเข้าทำงาน เพราะวอลเลย์บอลกำลัง
เป็นกีฬาที่นิยม ของวงการทั่วไปและมีการแข่งขันกันอยู่เป็นประจำ