5/11/54

หลักการฝึกวอลเลย์บอล


การฝึกวอลเลย์บอลสำหรับผู้หัดเล่นใหม่ ๆ นั้นจะต้องเริ่มจากง่ายไปยาก เพื่อผู้ฝึกเล่นใหม่จะได้มีความ
สามารถในการเล่นเกมได้เป็นอย่างดี การฝึกขั้นพื้นฐานจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับนักกีฬาที่ปรารถนาจะเป็น
นักกีฬาที่มีความสามารถในการเล่นเกม การฝึกจะก่อให้เกิดประโยชน์โดยสมบูรณ์ ซึ่งมีลำดับการฝึกอยู่
3 ขั้นตอน
1. การเตรียมตัวก่อนเล่น
2. การฝึกทักษะเบื้องต้น
3. การฝึกเป็นทีม

การเตรียมตัวก่อนเล่น
การเตรียมตัวก่อนเล่น (Warm up) ผู้เล่นจำเป็นต้องอบอุ่นร่างกายก่อน
เพื่อให้เกิดความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจก่อนจะเล่นลูกบอล โดยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของ
ร่างกายรู้ตัวก่อนมีการยืดหยุ่นพอประมาณ การเคลื่อนไหวของเท้า (Foot Work) เป็นรากฐานที่
ช่วยรักษาความมั่นคงในการทรงตัวมีความสำคัญในการเล่นวอลเลย์บอลมาก

วิธีปฏิบัติ ไปทางซ้าย
1. ยืนให้เท้าทั้งสองข้องขนานกัน ย่อเข่าและก้มตัวลงไปข้างหน้าเล็กน้อย
2. ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้ายของลำตัวด้านข้าง 1 ก้าว ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายใน จังหวะเดียวกัน ก้าวเท้าซ้าย
ออกไปอีกหนึ่งก้าว
3. ทำซ้ำ ข้อ 2 ไปเรื่อย ๆ

วิธีปฏิบัติ ไปทางขวา
วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับไปทางซ้าย แก่ให้ก้าวเท้าไปทางขวาแทน

วิธีปฏิบัติ ไปข้างหน้า
1. ยืนให้เท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้า เท้าทั้งสองห่างกันพอสบาย ย่อเข่าและก้มลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
2. ก้าวเท้าหน้าไปข้างหลัง 1 ก้าว ก้าวเท้าหลังชิดเท้าหน้า (โดยให้ปลายเท้าหลังแตะส้นเท้าหน้า ใน
จังหวะเดียวกันก้าวเท้าหน้าไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว

วิธีปฏิบัติ ไปข้างหลัง
วิธีปฏิบัติเช่นเดียวกับไปข้างหน้า แต่ให้ถอนเท้าไปข้างหลังแทน (โดยให้ส้นเท้าหน้าแตะปลายเท้าหลัง)

ข้อแนะนำ การก้าวเท้าหนึ่งชิดอีกเท้าหนึ่งต้องทำอย่างรวดเร็วในลักษณะสืบเท้าตาย
การบริหารร่างกายก่อนการฝึกซ้อมกีฬาวอลเลย์บอลเพื่อให้ได้ทั้งความเร็วและความอดทน สามารถทำได้
หลายวิธี เช่น
ลำดับของการบริหารร่างกาย (ตัวอย่างสำหรับผู้เล่นชาย)
1. วิ่งโยกตัวสลับเท้าซ้าย-ขวา
2. ย่อและกระโดดขึ้น
3. ก้าวด้านหน้าไปทางซ้าย
4. ม้วนตัวไปทางซ้าย
5. ย่อและกระโดดหมุนตัว
6. ก้าวด้านข้างไปทางขวา
7. ม้วนตัวไปทางขวา
8. กระโดดเข่าตีอก 3 ครั้ง
9. กลับหลังหันพุ่งตัว
10. กระโดดเท้าชิด และเท้าแยก สลับกันไปข้างหน้า 5 ครั้ง
11. ก้มถอยหลังใช้นิ้วมือแตะพื้นระยะทางประมาณ 3 เมตร
12. นอนหงาย
13. กระโดดมือแตะปลายเท้า
14. นอนคว่ำ
15. กระโดดแอ่นหลัง
16. พุ่งไปด้านหน้า
17. กระโดดสลับฟันปลา 2 เท้า ถอยหลัง 6 ครั้ง
18. กระโดดกระต่าย 5 ครั้ง
19. ม้วนหลัง 2 ครั้ง
20. ทำล้อเกวียนไปทางซ้าย
21. พุ่งไปทางซ้าย
22. ทำล้อเกวียนไปทางขวา
23. พุ่งไปทางขวา

ทั้ง 23 รายการดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 35-50 นาที ติดต่อกัน
การบริหารร่างการก่อนเลิก
1. วิ่งธรรมดา
2. วิ่งเหยาะ ๆ
3. ขยับให้เส้นสายหย่อน
4. บริหารให้กล้ามเนื้อคลายความตรึงเครียด
5. บริหารโดยการหายใจเข้าออกให้สัมพันธ์กับท่าที่บริหาร

การฝึกเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับลูกวอลเลย์บอล เพื่อให้ประสาทตาและร่างกายส่วนที่จะใช้สัมผัสกับ
ลูกบอล ให้เกิดความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าลูกบอลจะอยู่ในลักษณะใดก็ตามที่เราสามารถ
ที่จะเคลื่อนตัวไปยังจุดที่ลูกบอลจะตกลงได้และสามารถที่จะใช้มือบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการโดยที่
ไม่ผิดกติกา

วิธีปฏิบัติ ท่านั่ง
1. ให้ลูกบอลอยู่ระหว่างขาแล้วยกขาขึ้นเป็นรูปตัว "วี" หมุนขาไปรอบ ๆ
2.ให้ลูกบอลอยู่ระหว่างขาแล้วก้มให้ศรีษะแตะพื้น พ้นคอกับคาง กลิ้งม้วนตัวไปข้างหน้า
3. นอนราบกับพื้นให้ลูกบอลอยู่ในระหว่างขาใช้ขาหนีบบอลยกมาแตะศรีษะ
4. นอนราบมือจับลูกบอล กลิ้งไปข้าง ๆ
5. นั่งส่งลูกบอลด้วยเท้า
6. นั่งขวางลูกบอล ส่งลูกบอลระดับอก ขว้างลูกบอลข้ามตัว
7. นั่งเลี้ยงลูกบอลลอดขาตัวเอง

วิธีปฏิบัติ ท่ายืน
1. ส่งลูกบอลหมุนรอบขาให้เป็นเลข 8
2. ส่งลูกบอลรอบตัวให้เป็นวงกลม
3. ขว้างลูกบอลไปข้างหลังโดยผ่านช่องขาข้างล่าง
4. กระโดดโดยมีลูกบอลอยู่ระหว่างขา
5. จับลูกใต้ขาสลับกัน
6. จับลูกใต้ขาขณะก้าวเดิน
7. ส่งลูกบอลลอดขาไปข้างหลังให้ลูกบอลข้ามศรีษะตัวเอง

วิธีปฏิบัติ การเปลี่ยนตำแหน่งและท่าทางต่าง ๆ ของผู้ฝึก
1. กลิ้งลูกบอลไปทาง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ระหว่างขา
2. เคลื่อนที่เป็นจังหวะโดยกระโดดหรือสืบเท้าไปข้างซ้าย ข้างขวา แล้วกลิ้งตัว
3. ใช้มือเดียวโยนลูกบอลขึ้นแล้วจับลูกบอล
4. ใช้มือตีลูกบอลทางด้านข้าง (สันมือ) คล้ายตีเทนนิส ทั้งมือซ้ายและมือขวา
5. วิ่งใช้มือเลี้ยงลูก (เคาะลูกบอล)
6. ใช้หัวโหม่งลูกบอลแล้วพุ่งตัวลง (หมอบลง)

การฝึกความคล่องตัวในการเล่นวอลเลย์บอลของนักกีฬานั้นจะเป็นเครื่องช่วยให้นักกีฬามีความเหมาะสม
ที่จะเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถได้เป็นอย่างดี

การส่งลูกบอล
1. ส่งลูกด้วยมือล่าง
2. ส่งลูกด้วยมือบน หรือการส่งลูกผ่าน
3. การเสิร์ฟ

การรับลูกบอล
1.รับลูกบอลจากการรุกของคู่ต่อสู้ (ตบหรือหยอด)
2. การรับลูกเสิร์ฟ
3. การสกัดกั้นลูกบอล

การตบลูก
1. ตบลูกเป็นมุมแหลมลงในแดนคู่ต่อสู้
2. ตบลูกเพื่อส่งลูกข้ามตาข่าย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น